Acrylic Washes on Ground Surface; Urban Scene
เมื่อไม่นานมานี้ผมบังเอิญไปเจอภาพที่เก็บเอาไว้ในฮาร์ดดิสก์ตัวเก่าๆ เป็นภาพขั้นตอนของการทำเวทเธอร์ริ่งฉากจำลองที่ทำเอาไว้เมื่อหลายปีก่อนครับ เคยตั้งใจว่าจะเอาวิธีนี้มาเขียนลงเมื่อนานมาแล้ว แต่หาภาพไม่เจอจนลืมไป จะทำฉากใหม่เพื่อเอามาเขียนบทความก็ไม่มีเวลา สุดท้ายก็เลยผลัดมาเรื่อยๆ โชคดีที่หาภาพเจอเลยได้เอามาเขียนลงให้ชมกัน หวังว่าจะมีประโยชน์นะครับ
สำหรับในหัวข้อนี้จะอยู่ในส่วนของภาคผนวก ซึ่งเป็นส่วนเสริมต่อเนื่องมาจากบทความ Diorama Techniques - From Basic to Advanced ที่ได้ลงเอาไว้ครับ เพื่อที่จะช่วยให้เข้าใจถึงวิธีการในการทำสีฉากจำลองได้ชัดเจนมากขึ้น โดยเฉพาะในส่วนของการทำให้ฉากจำลองนั้นดูมีสภาพที่บ่งบอกถึงอายุ การผ่านการใช้งานมา หรือมีร่องรอยความสกปรก อย่างที่จะเรียกกันอย่างติดปากว่าการเวทเธอร์ริ่ง weathering ครับ
ในครั้งแรกของภาคผนวกนี้ ขอเริ่มที่การวอชสีเพื่อจำลองคราบฝุ่นภายในฉากจำลองด้วยสีอะคริลิคครับ ซึ่งตัวอย่างที่นำมาทำให้ชมกันจะเป็นลักษณะของฉากถนนภายในเมืองที่ถูกทำลายจากแรงระเบิด ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ดังนั้นจึงมีคราบฝุ่นสกปรกต่างๆกระจายอยู่ทั่วทั้งฉากครับ
ผมใช้งานชิ้นนี้เป็นตัวอย่างเพราะว่าจะได้เห็นถึงวิธีการในการทำงานได้อย่างชัดเจนครับ ซึ่งวิธีการในการวอชด้วยสีอะคริลิคนั้นสามารถนำไปปรับใช้ได้หลากหลายรูปแบบ ด้วยการเปลี่ยนสีที่ใช้ในการวอชแต่วิธีการในการวอชนั้นเหมือนเดิม ทั้งการวอชสีของพื้นดิน พื้นโคลน คราบฝุ่นบนดิน คราบสกปรกตามอาคาร ฯลฯ อยู่ที่เราจะนำไปทดลองทำดูครับ
1. ขั้นแรกเริ่มจากเตรียมอุปกรณ์ที่ใช้ในการวอชก่อน สีที่ผมใช้จะเป็นสีอะคริลิคแบบหลอดที่ใช้ในการเพนท์รูปทั่วไปครับ สีชนิดนี้ใช้การทำละลายด้วยน้ำ ราคาน่าจะอยู่ตั้งแต่ประมาณไม่เกิน 100 ไปจนถึง 400 บาท ต่อหลอดครับ ซึ่งเหมาะสำหรับนำมาใช้ในการวอชพื้นที่ใหญ่ๆแบบฉากจำลอง มากกว่าการใช้สีสำหรับโมเดลโดยเฉพาะที่จะมีราคาแพงกว่ามากครับ
ผมเองซื้อสีอะคริลิคแบบนี้เก็บไว้ 7-8 สี ส่วนใหญ่จะเป็นโทนน้ำตาล เอาไว้ใช้ในการเวทเธอร์ริ่งแบบต่างๆครับ แต่ในส่วนของการทำคราบฝุ่นนี่ผมใช้เพียงแค่สามสีคือ สีเหลือง (Yellow Ochre) สีน้ำตาลเข้ม (Burnt Umber) และสีขาว (Titanium White)ครับ โดยผสมสีให้ออกโทนสีแบบในภาพคือเป็นสีน้ำตาลอ่อนๆ หรือจำง่ายๆแบบที่รุ่นพี่ของผมชอบเรียกว่าเป็นสีแบบกาแฟใส่นมครับ
สีอะคริลิคสูตรน้ำนั้นจะยึดติดบนพื้นผิวที่มีความด้านหรือสากได้ดีกว่าผิวมันครับ ดังนั้นก่อนที่จะวอชด้วยสีสูตรน้ำ อย่าลืมที่จะพ่นปรับพื้นผิวด้วยเคลียร์ด้านก่อนครับ
2. ในการผสมสีนั้นผมจะผสมเผื่อเอาไว้พอสมควร และผสมให้สีนั้นไม่ข้นหรือไม่เหลวจนเกินไป เพื่อให้สะดวกในการวอชครับ ซึ่งตรงนี้คงจะต้องทดลองดูด้วยตัวเองครับว่าอัตราส่วนระหว่างสีกับน้ำแค่ไหนถึงจะพอดีสำหรับการวอชของเรา อย่างสีที่ผมผสมไว้ในภาพ จะเห็นว่าสีนั้นข้นพอที่เมื่ออยู่ในถ้วยแล้วไม่ใสจนมองเห็นด้านล่างครับ แต่เมื่อนำไปทาลงบนฉากจำลองแล้วก็ไม่ข้นเกินไปจนกลบสีเดิมของฉาก แต่จะไปขังอยู่ตามซอกร่องอย่างที่เห็นในภาพครับ
3. วิธีในการวอชนั้น ทำโดยใช้พู่กันเบอร์ใหญ่ๆจุ่มสีแล้วทาเลยครับ โดยพยายามทาไปในทางเดียวกัน สีอะคริลิคนั้นจะใช้เวลาซักพักกว่าจะแห้ง เพราะฉะนั้นจะมีเวลาพอสมควรในการใช้พู่กันเกลี่ยสีไปในทิศทางที่เราต้องการครับ ซึ่งสีวอชที่เราทาเอาไว้นั้นมันจะเคลือบสีของฉากจำลองเอาไว้หนาหรือบางตามแต่การทาของเราครับ และจะเห็นได้ชัดเมื่อสีนั้นแห้งแล้ว
ในตัวอย่างที่ผมทำให้ดูนั้นจะเป็นพื้นถนนที่ทำจากหินเรียงกัน ดังนั้นเวลาทาในแต่ละส่วนผมก็จะใช้ปลายพู่กันเกลี่ยให้สีนั้นไปขังอยู่ตามร่องหินครับ จะเห็นว่าสีวอชในส่วนอื่นๆนั้นจะเพียงแค่เคลือบเอาไว้บางๆ ส่วนสีตามร่องนั้นจะเข้มและเห็นได้ชัดครับ และเมื่อสีแห้งแล้วสีตามร่องอาจจะจางลงหน่อยแต่ก็จะยังเห็นชัดอยู่ดีครับ เป็นเหมือนกับคราบฝุ่นที่ติดอยู่ตามร่องหิน ส่วนสีในส่วนอื่นๆก็จะดูเหมือนคราบฝุ่นจางๆที่เคลือบถนนหินเอาไว้ แต่ไม่กลบสีเดิมของพื้นถนนครับ
4. ในภาพจะเห็นว่าผมมีถ้วยใส่น้ำเปล่าเตรียมไว้ เพื่อที่เวลาวอชสีแล้ว สีส่วนไหนที่ทาลงไปแล้วดูเข้มหรือข้นเกินไปจนไปกลบสีเดิมของพื้นฉาก ผมจะจุ่มพู่กันกับน้ำ และมาทาเกลี่ยให้สีบริเวณนั้นจางลงครับ ส่วนสีวอชที่ไปเกาะอยู่ตามเศษอิฐเศษหิน หากดูเยอะเกินไปผมจะใช้วิธีเอาพู่กันไปซับกระดาษให้แห้งแล้วเอาพู่กันมาแตะให้ขนพู่กันนั้นซับสีในส่วนที่ไม่ต้องการออกมาครับ เพราะว่าสีอะคริลิคนั้นเมื่อแห้งแล้วจะไม่สามารถละลายได้ใหม่ ดังนั้นเวลาวอชผมจะค่อยๆวอชบางๆไปทีละส่วนเพื่อกันความผิดพลาดครับ และเมื่อสีแห้งแล้วส่วนไหนยังดูมีคราบฝุ่นที่จางหรือน้อยเกินไป ค่อยเอาสีมาวอชอีกรอบและทำแบบนี้ไปเรื่อยๆจนกว่าจะพอใจครับ
5. เมื่อวอชสีทับทั้งพื้นถนนและส่วนของซากปรักหักพังเรียบร้อยแล้วครับ ผมทำการวอชสีซ้ำไปมาสองสามรอบจนพอใจ ในภาพตรงบริเวณด้านบนถนนที่ติดกับตัวอาคาร จะเห็นสีวอชนั้นติดอยู่ตามซอกร่องของเศษซากปรักหักพัง ซึ่งเมื่อแห้งแล้วสีตรงส่วนนี้จะดูซีดลงกว่านี้และจะดูเหมือนกับกองฝุ่นที่อยู่ใต้กองเศษอิฐเศษหินครับ
สำหรับตัวอย่างที่นำมาลงนี้ผมใช้เพียงสีเดียวในการวอช แต่หากอยากจะให้มีความหลากหลายของสีมากกว่านี้ก็ได้ครับ อาจจะเพิ่มสีโทนเข้มเข้าไปอีกสีหรือหรือสีที่อ่อนขึ้นอีกสี ตามที่เราต้องการ และใช้วิธีการวอชแบบเดียวกันจนเราพอใจครับ
6. ภาพผลงานเมื่อทำสีเสร็จเรียบร้อยแล้วครับ ส่วนที่พื้นถนนนั้นใช้การวอชด้วยสีอะคริลิคเพียงอย่างเดียวครับ เมื่อพ่นด้วยเคลือบด้านแล้วจะดูเหมือนคราบฝุ่นมากขึ้น ส่วนบริเวณที่เป็นกองอิฐจะมีการเวทเธอร์ริ่งเพิ่มด้วยสีพิกเมนท์ ซึ่งจะนำวิธีการมาเขียนลงอีกทีครับ
7. ตัวอย่างอื่นๆของฉากจำลองรูปแบบเมืองที่โดนทำลายที่ใช้วิธีการวอชพื้นฉากแบบเดียวกันครับ
8. ฉากนี้ทำเป็นพื้นถนนคอนกรีตหรือลาดยางมะตอยแบบในปัจจุบันครับ ผมใช้การพ่นสีคราบฝุ่นบางๆบนถนนบางส่วนด้วยแอร์บรัช แล้ววอชด้วยสีอะคริลิคอีกรอบด้วยสีโทนใกล้เคียงกัน และตกแต่งด้วยสีพิกเมนท์ในบางจุด
Pages
▼
Friday, January 23, 2015
Tuesday, January 20, 2015
ประกวดเพื่อรางวัลหรือประกวดเพื่อพัฒนาตน?
ช่วงหลายปีที่ผ่านมา ผมติดตามข่าวคราวงานประกวดต่างๆในต่างประเทศอยู่ตลอด และมีโอกาสได้เข้าร่วมกับงานประกวดแบบออนไลน์อยู่หลายครั้ง สิ่งหนึ่งที่เหมือนกันในกติกาของทุกๆงานประกวดแบบออนไลน์คือ หากไม่มีการแบ่งระดับผู้เข้าประกวดที่ชัดเจนแล้ว จะไม่มีการจำกัดสิทธิ์ผู้ที่อยากร่วมส่งผลงานเข้าประกวด ไม่ว่าใครก็สามารถเข้าร่วมได้ (ยกเว้นเฉพาะแค่ทีมงานผู้จัด) นั่นหมายความว่า ไม่ว่าคุณจะเป็นมือใหม่พึ่งหัดทำ มือกลางทำมาพอสมควร หรือเก่งในระดับโลก(ในวงการนั้นๆ)ก็สามารถเข้าร่วมได้หมด ภายใต้กฎกติกาแบบเดียวกัน ระยะเวลาทำงานเท่ากันและต้องเป็นผลงานใหม่ที่ไม่เคยเผยแพร่ที่ไหนมาก่อน
แม้ทุกๆคนที่ตัดสินใจเข้าร่วมประกวดนั้นจะรู้ดีว่าฝีมือของแต่ละคนนั้นไม่เท่ากัน และอาจจะมีคนที่มีฝีมือมากๆหรือมีชื่อเสียงในระดับโลกมาร่วมด้วย แต่ทุกๆคนก็ยังคงร่วมส่งประกวดและตั้งใจทำผลงานของตัวเองให้ดีที่สุด ถึงแม้สุดท้ายแล้วคนที่ได้รางวัลจะเป็นเหล่าบุคคลที่มีชื่อเสียงในวงการ แต่ทุกๆคนที่เข้าร่วมก็ยอมรับในการตัดสินนั้นๆ เพราะว่าคนเหล่านั้นได้รางวัลไม่ใช่เพราะชื่อเสียงของเค้า แต่เป็นเพราะฝีมือในการทำงานของเค้าต่างหากที่ทำให้เค้าได้รับรางวัลและมีชื่อเสียง
ทำไมในต่างประเทศถึงไม่มีใครคิดว่าผู้ที่มีชื่อเสียงเหล่านี้ควรจะเลิกประกวดได้แล้ว เพราะว่าเก่งพอแล้ว ควรจะเปิดโอกาสให้คนอื่นๆบ้าง? หรือในคำถามแบบเดียวกัน ทำไมไทเกอร์ วู๊ด หรือ โรเจอร์ เฟดเดอเรอร์ ถึงครองอันดับหนึ่งของโลกอยู่หลายปีโดยที่ไม่มีใครบอกให้เค้าวางมือเลิกลงแข่งเพื่อเปิดโอกาสให้คนอื่นๆ?
ผมมองว่าการประกวดและแข่งขัน นอกจากจัดขึ้นเพื่อเป็นการคัดเลือกผลงานที่ดีที่สุดและเหมาะสมกับรางวัลแล้ว มันยังเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้เกิดการพัฒนาของบุคคลที่เข้าร่วมในการแข่งขัน เพราะแต่ละคนจะต้องพยายามฝึกฝนและพัฒนาฝีมือ เพื่อจะได้ทำผลงานให้ดีที่สุดมาเข้าร่วมในการประกวด
นี่คงจะเป็นเหตุผลว่าทำไมในต่างประเทศถึงไม่มีคนคัดค้านไม่ให้คนที่เก่งกว่าเข้าร่วมประกวด เพราะทุกคนเข้าใจว่าจะต้องพัฒนาผลงานของตัวเองให้ดีขึ้นเพื่อให้เหมาะสมกับรางวัลที่จะได้รับ ไม่ใช่ให้การแข่งขันนั้นลดมาตราฐานของผลงานที่ดีที่สุดลง (โดยตัดสิทธิ์คนที่เก่งออก) เพื่อให้ทุกคนสามารถมีสิทธิ์ที่จะได้รางวัล
การประกวดที่มีการให้รางวัลเพียงแค่ไม่กี่รางวัล แน่นอนว่าจะต้องมีผู้ที่ต้องผิดหวังมากกว่าผู้ที่สมหวัง ดังนั้นหากผู้ที่เข้าร่วมไม่มองว่าการประกวดนั้นมีความสำคัญเฉพาะเรื่องของการได้รับรางวัลแล้ว มันยังมีสิ่งอื่นๆอีกที่คุณสามารถได้รับจากการประกวด ทั้งการที่ได้ทำงานอย่างเต็มที่และมีผลงานที่ทำเสร็จในหัวข้อและเวลาที่กำหนด การได้เห็นและเปรียบเทียบความแตกต่างของผลงานตัวเองกับผลงานที่ได้รางวัลและผลงานอื่นๆ ที่มีเงื่อนไขในการทำงานแบบเดียวกันแต่ผลลัพท์ของแต่ละคนนั้นแตกต่างกัน และอาจจะได้รับคำวิจารณ์จากกรรมการหรือพูดคุยกับผู้เข้าร่วมคนอื่นๆ ซึ่งประสบการณ์เหล่านี้จะช่วยให้คุณนำมาใช้ในการพัฒนาผลงานของตัวเองให้ดีขึ้น จนสามารถแข่งขันเพื่อให้ได้มาซึ่งรางวัลที่เหมาะสมกับความพยายามของคุณ
ผมยกเรื่องนี้ขึ้นมาพูดเนื่องจากได้ยินอยู่บ่อยครั้งจากหลายๆท่าน เกี่ยวกับความคิดเห็นที่มีต่อผู้เข้าร่วมงานประกวดว่า หากคุณเก่งแล้วเคยได้รางวัลมาแล้ว ก็ควรที่จะวางมือเลิกส่งงานเข้าประกวด เพื่อให้คนอื่นๆได้มีโอกาสในการรับรางวัลบ้าง
ผมเองไม่เห็นด้วยกับแนวคิดแบบนี้เพราะมันดูเหมือนเป็นการสนับสนุนให้คนที่เข้าร่วมประกวดนั้นไม่จำเป็นต้องพัฒนาฝีมือตัวเองมากมายก็มีสิทธิ์ที่จะได้รางวัล เพราะไม่มีคนที่เก่งกว่าให้ต้องแข่งขันด้วยแล้ว ซึ่งมันขัดกับจุดมุ่งหมายของการประกวดในแบบที่ผมเข้าใจ ที่ทุกคนควรจะพัฒนาตัวเองให้เต็มที่ถึงจะมีสิทธิ์ได้รับรางวัลนั้นๆ และการปลูกฝังให้คนหันมาสนใจและมุ่งมั่นในการพัฒนาตัวเองนี้ มันน่าจะทำให้เกิดคนที่พัฒนาจนมีฝีมือสูงขึ้นได้มากกว่า เหมือนอย่างที่ในวงการคนเล่นโมเดลกันดั้มทุกวันนี้ มีคนเก่งๆมากมายที่แข่งขันและพัฒนาฝีมือกันมาตลอดช่วงสิบปีที่ผ่านมา
นอกจากนี้ คำว่าการแข่งขัน ไม่ได้หมายความว่าคนที่แข่งขันกันจะต้องเป็นศัตรูกันเสมอไป แม้จะมีเป้าหมายแบบเดียวกันก็สามารถช่วยกันแบ่งปันความรู้เพื่อพัฒนาฝีมือให้ถึงเป้าหมายนั้นได้ ดังนั้นหากผู้เข้าร่วมแข่งขันต่างมีไมตรีจิตช่วยเหลือแบ่งปันความรู้และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ก็น่าจะช่วยให้เกิดการพัฒนาฝีมือได้ดีกว่าการที่ต่างคนต่างทำและเรียนรู้ด้วยตัวเองเพียงอย่างเดียว (ซึ่งการช่วยกันนี้เป็นสิ่งที่เห็นได้ตลอดในการประกวดต่างๆในไทย)
ตัวผมเองไม่เคยมีความคิดว่าการแบ่งปันความรู้ที่ตัวเองมีให้แก่คนอื่น จะเป็นการลดโอกาสในการได้รางวัลของตัวเอง เพราะผมไม่ได้แข่งขันเพื่อต้องการเพียงแค่รางวัล แต่เป็นการแข่งขันเพื่อพัฒนาตัวเอง ดังนั้นการที่แบ่งปันความรู้ไปนั้นจะช่วยให้คนอื่นพัฒนาขึ้นมาแข่งขันกับผมได้ จึงเป็นเรื่องที่น่ายินดีมากกว่า
ผมเชื่อมาตลอดว่าการแบ่งปันความรู้ที่มีให้แก่ผู้อื่น เปรียบเสมือนรากฐานสำคัญที่ทำให้วงการโมเดลทั่วโลกเติบโตและพัฒนามาจนถึงทุกวันนี้ เราทุกคนเริ่มต้นการพัฒนาตัวเองด้วยการเรียนรู้จากผู้อื่น ทั้งจากหนังสือ แมกกาซีน เว็บไซต์ บล็อก ฟอรั่ม เฟซบุ๊ค จากผู้คนทั่วโลกที่ทำขึ้นด้วยจุดมุ่งหมายเดียวกันคือ ช่วยให้คนอื่นๆได้พัฒนาผลงานให้ดีขึ้น ดังนั้นเมื่อผมมีความรู้มากพอที่จะแบ่งปันได้ การตอบแทนให้กับความรู้ที่ได้มาจากผู้อื่นที่ดีที่สุด จึงเป็นการตอบแทนด้วยการแบ่งปันความรู้ให้แก่ผู้อื่นต่อเนื่องไป และหวังว่าคนที่ได้รับความรู้ไปจากผม จะนำความรู้ที่ได้นั้นไปแบ่งปันให้แก่ผู้อื่นต่อเนื่องไปเช่นกัน
สุดท้ายนี้ ที่ผ่านมาผมไม่เคยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ เพราะตัวเองยังคงเข้าร่วมในการประกวด และอาจทำให้เข้าใจว่าที่ไม่เห็นด้วยกับแนวคิดที่กล่าวมาข้างต้น เพราะจะทำให้ตัวเองเสียประโยชน์ที่จะได้จากการประกวด แต่ช่วง 2-3 ปีที่ไม่ได้เข้าร่วมกับการประกวดใดๆภายในประเทศเลย คงจะพอแสดงให้เห็นว่าการแสดงความคิดเห็นในครั้งนี้ ไม่ได้ทำเพื่อผลประโยชน์ของตัวผมเอง แต่เป็นการแสดงมุมมองที่มีต่อการประกวดของตัวเองให้กับคนอื่นได้รับทราบ
ผมคงจะไม่สามารถบอกได้ว่าความคิดแบบไหนนั้นถูกต้องหรือดีกว่า เพราะนี่เป็นเพียงความคิดเห็นส่วนตัวของผมเพียงคนเดียว ทุกๆคนมีสิทธิ์ที่จะคิดและพิจารณาด้วยตัวเองว่าสิ่งใดนั้นเหมาะสม ผมเพียงหวังว่าหากมีน้องๆรุ่นใหม่ๆที่กำลังพัฒนาฝีมือของตัวเองอยู่ หรือที่มีฝีมืออยู่แล้วได้เข้ามาอ่าน จะได้ลองพิจารณาถึงจุดมุ่งหมายของการส่งผลงานเข้าประกวดแบบที่ผมเขียนเอาไว้ และพิจารณาว่าเพราะอะไรตัวเองจึงส่งผลงานเข้าประกวด และหากคุณเป็นคนที่มีฝีมืออยู่แล้ว เมื่อวันนึงมีคนมาบอกกับคุณว่าคุณเก่งพอแล้ว คุณจะยังคงส่งผลงานเข้าร่วมประกวดต่อไปหรือวางมือและเปิดโอกาสให้คนอื่นๆ ลองพิจารณาดูด้วยตัวคุณเองครับ
แม้ทุกๆคนที่ตัดสินใจเข้าร่วมประกวดนั้นจะรู้ดีว่าฝีมือของแต่ละคนนั้นไม่เท่ากัน และอาจจะมีคนที่มีฝีมือมากๆหรือมีชื่อเสียงในระดับโลกมาร่วมด้วย แต่ทุกๆคนก็ยังคงร่วมส่งประกวดและตั้งใจทำผลงานของตัวเองให้ดีที่สุด ถึงแม้สุดท้ายแล้วคนที่ได้รางวัลจะเป็นเหล่าบุคคลที่มีชื่อเสียงในวงการ แต่ทุกๆคนที่เข้าร่วมก็ยอมรับในการตัดสินนั้นๆ เพราะว่าคนเหล่านั้นได้รางวัลไม่ใช่เพราะชื่อเสียงของเค้า แต่เป็นเพราะฝีมือในการทำงานของเค้าต่างหากที่ทำให้เค้าได้รับรางวัลและมีชื่อเสียง
ทำไมในต่างประเทศถึงไม่มีใครคิดว่าผู้ที่มีชื่อเสียงเหล่านี้ควรจะเลิกประกวดได้แล้ว เพราะว่าเก่งพอแล้ว ควรจะเปิดโอกาสให้คนอื่นๆบ้าง? หรือในคำถามแบบเดียวกัน ทำไมไทเกอร์ วู๊ด หรือ โรเจอร์ เฟดเดอเรอร์ ถึงครองอันดับหนึ่งของโลกอยู่หลายปีโดยที่ไม่มีใครบอกให้เค้าวางมือเลิกลงแข่งเพื่อเปิดโอกาสให้คนอื่นๆ?
ผมมองว่าการประกวดและแข่งขัน นอกจากจัดขึ้นเพื่อเป็นการคัดเลือกผลงานที่ดีที่สุดและเหมาะสมกับรางวัลแล้ว มันยังเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้เกิดการพัฒนาของบุคคลที่เข้าร่วมในการแข่งขัน เพราะแต่ละคนจะต้องพยายามฝึกฝนและพัฒนาฝีมือ เพื่อจะได้ทำผลงานให้ดีที่สุดมาเข้าร่วมในการประกวด
นี่คงจะเป็นเหตุผลว่าทำไมในต่างประเทศถึงไม่มีคนคัดค้านไม่ให้คนที่เก่งกว่าเข้าร่วมประกวด เพราะทุกคนเข้าใจว่าจะต้องพัฒนาผลงานของตัวเองให้ดีขึ้นเพื่อให้เหมาะสมกับรางวัลที่จะได้รับ ไม่ใช่ให้การแข่งขันนั้นลดมาตราฐานของผลงานที่ดีที่สุดลง (โดยตัดสิทธิ์คนที่เก่งออก) เพื่อให้ทุกคนสามารถมีสิทธิ์ที่จะได้รางวัล
การประกวดที่มีการให้รางวัลเพียงแค่ไม่กี่รางวัล แน่นอนว่าจะต้องมีผู้ที่ต้องผิดหวังมากกว่าผู้ที่สมหวัง ดังนั้นหากผู้ที่เข้าร่วมไม่มองว่าการประกวดนั้นมีความสำคัญเฉพาะเรื่องของการได้รับรางวัลแล้ว มันยังมีสิ่งอื่นๆอีกที่คุณสามารถได้รับจากการประกวด ทั้งการที่ได้ทำงานอย่างเต็มที่และมีผลงานที่ทำเสร็จในหัวข้อและเวลาที่กำหนด การได้เห็นและเปรียบเทียบความแตกต่างของผลงานตัวเองกับผลงานที่ได้รางวัลและผลงานอื่นๆ ที่มีเงื่อนไขในการทำงานแบบเดียวกันแต่ผลลัพท์ของแต่ละคนนั้นแตกต่างกัน และอาจจะได้รับคำวิจารณ์จากกรรมการหรือพูดคุยกับผู้เข้าร่วมคนอื่นๆ ซึ่งประสบการณ์เหล่านี้จะช่วยให้คุณนำมาใช้ในการพัฒนาผลงานของตัวเองให้ดีขึ้น จนสามารถแข่งขันเพื่อให้ได้มาซึ่งรางวัลที่เหมาะสมกับความพยายามของคุณ
ผมยกเรื่องนี้ขึ้นมาพูดเนื่องจากได้ยินอยู่บ่อยครั้งจากหลายๆท่าน เกี่ยวกับความคิดเห็นที่มีต่อผู้เข้าร่วมงานประกวดว่า หากคุณเก่งแล้วเคยได้รางวัลมาแล้ว ก็ควรที่จะวางมือเลิกส่งงานเข้าประกวด เพื่อให้คนอื่นๆได้มีโอกาสในการรับรางวัลบ้าง
ผมเองไม่เห็นด้วยกับแนวคิดแบบนี้เพราะมันดูเหมือนเป็นการสนับสนุนให้คนที่เข้าร่วมประกวดนั้นไม่จำเป็นต้องพัฒนาฝีมือตัวเองมากมายก็มีสิทธิ์ที่จะได้รางวัล เพราะไม่มีคนที่เก่งกว่าให้ต้องแข่งขันด้วยแล้ว ซึ่งมันขัดกับจุดมุ่งหมายของการประกวดในแบบที่ผมเข้าใจ ที่ทุกคนควรจะพัฒนาตัวเองให้เต็มที่ถึงจะมีสิทธิ์ได้รับรางวัลนั้นๆ และการปลูกฝังให้คนหันมาสนใจและมุ่งมั่นในการพัฒนาตัวเองนี้ มันน่าจะทำให้เกิดคนที่พัฒนาจนมีฝีมือสูงขึ้นได้มากกว่า เหมือนอย่างที่ในวงการคนเล่นโมเดลกันดั้มทุกวันนี้ มีคนเก่งๆมากมายที่แข่งขันและพัฒนาฝีมือกันมาตลอดช่วงสิบปีที่ผ่านมา
นอกจากนี้ คำว่าการแข่งขัน ไม่ได้หมายความว่าคนที่แข่งขันกันจะต้องเป็นศัตรูกันเสมอไป แม้จะมีเป้าหมายแบบเดียวกันก็สามารถช่วยกันแบ่งปันความรู้เพื่อพัฒนาฝีมือให้ถึงเป้าหมายนั้นได้ ดังนั้นหากผู้เข้าร่วมแข่งขันต่างมีไมตรีจิตช่วยเหลือแบ่งปันความรู้และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ก็น่าจะช่วยให้เกิดการพัฒนาฝีมือได้ดีกว่าการที่ต่างคนต่างทำและเรียนรู้ด้วยตัวเองเพียงอย่างเดียว (ซึ่งการช่วยกันนี้เป็นสิ่งที่เห็นได้ตลอดในการประกวดต่างๆในไทย)
ตัวผมเองไม่เคยมีความคิดว่าการแบ่งปันความรู้ที่ตัวเองมีให้แก่คนอื่น จะเป็นการลดโอกาสในการได้รางวัลของตัวเอง เพราะผมไม่ได้แข่งขันเพื่อต้องการเพียงแค่รางวัล แต่เป็นการแข่งขันเพื่อพัฒนาตัวเอง ดังนั้นการที่แบ่งปันความรู้ไปนั้นจะช่วยให้คนอื่นพัฒนาขึ้นมาแข่งขันกับผมได้ จึงเป็นเรื่องที่น่ายินดีมากกว่า
ผมเชื่อมาตลอดว่าการแบ่งปันความรู้ที่มีให้แก่ผู้อื่น เปรียบเสมือนรากฐานสำคัญที่ทำให้วงการโมเดลทั่วโลกเติบโตและพัฒนามาจนถึงทุกวันนี้ เราทุกคนเริ่มต้นการพัฒนาตัวเองด้วยการเรียนรู้จากผู้อื่น ทั้งจากหนังสือ แมกกาซีน เว็บไซต์ บล็อก ฟอรั่ม เฟซบุ๊ค จากผู้คนทั่วโลกที่ทำขึ้นด้วยจุดมุ่งหมายเดียวกันคือ ช่วยให้คนอื่นๆได้พัฒนาผลงานให้ดีขึ้น ดังนั้นเมื่อผมมีความรู้มากพอที่จะแบ่งปันได้ การตอบแทนให้กับความรู้ที่ได้มาจากผู้อื่นที่ดีที่สุด จึงเป็นการตอบแทนด้วยการแบ่งปันความรู้ให้แก่ผู้อื่นต่อเนื่องไป และหวังว่าคนที่ได้รับความรู้ไปจากผม จะนำความรู้ที่ได้นั้นไปแบ่งปันให้แก่ผู้อื่นต่อเนื่องไปเช่นกัน
สุดท้ายนี้ ที่ผ่านมาผมไม่เคยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ เพราะตัวเองยังคงเข้าร่วมในการประกวด และอาจทำให้เข้าใจว่าที่ไม่เห็นด้วยกับแนวคิดที่กล่าวมาข้างต้น เพราะจะทำให้ตัวเองเสียประโยชน์ที่จะได้จากการประกวด แต่ช่วง 2-3 ปีที่ไม่ได้เข้าร่วมกับการประกวดใดๆภายในประเทศเลย คงจะพอแสดงให้เห็นว่าการแสดงความคิดเห็นในครั้งนี้ ไม่ได้ทำเพื่อผลประโยชน์ของตัวผมเอง แต่เป็นการแสดงมุมมองที่มีต่อการประกวดของตัวเองให้กับคนอื่นได้รับทราบ
ผมคงจะไม่สามารถบอกได้ว่าความคิดแบบไหนนั้นถูกต้องหรือดีกว่า เพราะนี่เป็นเพียงความคิดเห็นส่วนตัวของผมเพียงคนเดียว ทุกๆคนมีสิทธิ์ที่จะคิดและพิจารณาด้วยตัวเองว่าสิ่งใดนั้นเหมาะสม ผมเพียงหวังว่าหากมีน้องๆรุ่นใหม่ๆที่กำลังพัฒนาฝีมือของตัวเองอยู่ หรือที่มีฝีมืออยู่แล้วได้เข้ามาอ่าน จะได้ลองพิจารณาถึงจุดมุ่งหมายของการส่งผลงานเข้าประกวดแบบที่ผมเขียนเอาไว้ และพิจารณาว่าเพราะอะไรตัวเองจึงส่งผลงานเข้าประกวด และหากคุณเป็นคนที่มีฝีมืออยู่แล้ว เมื่อวันนึงมีคนมาบอกกับคุณว่าคุณเก่งพอแล้ว คุณจะยังคงส่งผลงานเข้าร่วมประกวดต่อไปหรือวางมือและเปิดโอกาสให้คนอื่นๆ ลองพิจารณาดูด้วยตัวคุณเองครับ
Monday, January 19, 2015
ข่าวประชาสัมพันธ์
วันนี้มีบล็อกๆหนึ่งมาแนะนำให้รู้จักกันครับ เป็นบล็อกที่ดำเนินการโดยพี่บิ๊ก หรือ นามปากกา หมึกข้างขวด อดีตนักเขียนในนิตยสารเกี่ยวกับโมเดลของไทยหลายๆเล่ม ที่น้องๆรุ่นใหม่อาจจะไม่เคยได้ยินชื่อมาก่อน เพราะหนังสือโมเดลในไทยนั้นห่างหายไปหลายปีแล้ว :)
MODEL WORKSHOP เป็นบล็อกที่จัดทำขึ้นตั้งแต่ปี 2007 เพื่อเผยแพร่วิธีการทำงานโมเดลตั้งแต่เบื้องต้นไปจนขั้นสูง เพื่อให้บุคคลทั่วไปที่สนใจได้ศึกษา แม้ว่าช่วงสามปีที่ผ่านมาจะไม่มีความเคลื่อนไหวใดๆเลย เนื่องจากภาระหน้าที่การงานของผู้ดำเนินการ แต่ตอนนี้เมื่อเริ่มมีเวลาว่างมากขึ้น ก็ได้กลับมาเริ่มงานเขียนเพื่อเผยแพร่เทคนิคการทำงานลงในบล็อกอีกครั้งครับ (และหวังว่าคราวนี้จะมีบทความให้ได้อ่านกันอย่างต่อเนื่องนะครับ :)
บล็อกนี้อาจจะไม่ค่อยมีคนรู้จักมากนัก เพราะไม่เคยได้แจ้งข่าวหรือเผยแพร่ให้คนอื่นได้ทราบเท่าไหร่ ตัวผมเองก็แทบจะลืมไปแล้วด้วยซ้ำว่ามีบล็อกนี้อยู่หากพี่บิ๊กไม่แจ้งข่าวมา ซึ่งเนื้อหาภายในบล็อกนั้นมีหลายๆบทความที่น่าจะเป็นประโยชน์ต่อคนที่สนใจในการทำโมเดลอยู่ จึงมาประชาสัมพันธ์ให้ได้ทราบกันครับ หากสนใจก็ลองเข้าไปเยี่ยมชมและศึกษาเทคนิคการทำโมเดลได้ตามลิ๊งค์ด้านล่างครับ
http://modelworkshop.blogspot.com/
ภาพตัวอย่าง
MODEL WORKSHOP เป็นบล็อกที่จัดทำขึ้นตั้งแต่ปี 2007 เพื่อเผยแพร่วิธีการทำงานโมเดลตั้งแต่เบื้องต้นไปจนขั้นสูง เพื่อให้บุคคลทั่วไปที่สนใจได้ศึกษา แม้ว่าช่วงสามปีที่ผ่านมาจะไม่มีความเคลื่อนไหวใดๆเลย เนื่องจากภาระหน้าที่การงานของผู้ดำเนินการ แต่ตอนนี้เมื่อเริ่มมีเวลาว่างมากขึ้น ก็ได้กลับมาเริ่มงานเขียนเพื่อเผยแพร่เทคนิคการทำงานลงในบล็อกอีกครั้งครับ (และหวังว่าคราวนี้จะมีบทความให้ได้อ่านกันอย่างต่อเนื่องนะครับ :)
บล็อกนี้อาจจะไม่ค่อยมีคนรู้จักมากนัก เพราะไม่เคยได้แจ้งข่าวหรือเผยแพร่ให้คนอื่นได้ทราบเท่าไหร่ ตัวผมเองก็แทบจะลืมไปแล้วด้วยซ้ำว่ามีบล็อกนี้อยู่หากพี่บิ๊กไม่แจ้งข่าวมา ซึ่งเนื้อหาภายในบล็อกนั้นมีหลายๆบทความที่น่าจะเป็นประโยชน์ต่อคนที่สนใจในการทำโมเดลอยู่ จึงมาประชาสัมพันธ์ให้ได้ทราบกันครับ หากสนใจก็ลองเข้าไปเยี่ยมชมและศึกษาเทคนิคการทำโมเดลได้ตามลิ๊งค์ด้านล่างครับ
http://modelworkshop.blogspot.com/
ภาพตัวอย่าง
Thursday, January 15, 2015
Soviet Mountaineer Officer 1942 (Finished)
Young Miniatures
1/10 scale resin bust
Sculpted by Ebroin
Here is my latest finished historical/military subject for the first time in three years. It was really great to be back on my favorite subject once again, I had so much fun painting this bust. The painting techniques I have learned from painting miniature wargames were very useful on this project, my effort finally paid off. Because to paint a better military figure was the reason I wanted to learn to paint with acrylic.
I will try to paint historical/military figures more often in the future. I already have a few busts and figures waiting on my workbench, hope I will have a chance to finish them soon.
Happy Painting to all of you guys :)
งานชิ้นนี้เป็นผลงานล่าสุดของผมในประเภทฟิกเกอร์แนวประวัติศาสตร์หรือทหาร ที่ทำเสร็จในรอบสามปีครับ หลังจากที่ไม่ได้ทำงานในแนวนี้ให้เสร็จเป็นชิ้นเป็นอันมานาน มันจึงรู้สึกดีมากๆที่ได้กลับมาทำงานในแบบที่ผมชอบอีกครั้ง และรู้สึกสนุกมากๆกับการเพนท์บัสตัวนี้ ซึ่งเทคนิคต่างๆของการเพนท์สีอะคริลิคที่ผมได้เรียนรู้และฝึกฝนจากการเพนท์งานประเภท miniature wargames นั้น ก็เป็นประโยชน์อย่างมากเมื่อนำมาลองใช้กับงานประเภททหารบนบัสชิ้นนี้ครับ
มันทำให้รู้สึกว่าเวลาสามปีที่ฝึกฝนการเพนท์ด้วยสีอะคริลิคนั้นไม่ได้ศูนย์เปล่าเลย แม้ว่าที่ผ่านมาจะทำแต่งานในแนว ไซไฟ-แฟนตาซี มาโดยตลอด แต่งานบัสชิ้นนี้ก็ช่วยแสดงให้เห็นว่าเทคนิคต่างๆในการเพนท์นั้นก็ไม่ได้ต่างกัน และบางอย่างก็สามารถปรับใช้ร่วมกันได้เป็นอย่างดี
ผมเองหันมาสนใจในสีอะคริลิคและเปลี่ยนมาลองใช้สีอะคริลิคในการเพนท์งานแบบเต็มรูปแบบ เพราะว่าอยากที่จะพัฒนาการเพนท์ฟิกเกอร์แนวทหารของตัวเองให้ดีขึ้น ซึ่งตอนนี้ก็ได้เห็นผลลัพท์ของความพยายามที่ผ่านมาแล้วครับ ดังนั้นจึงอยากฝากถึงท่านที่กำลังฝึกฝนการเพนท์ฟิกเกอร์อยู่ว่า ความพยายามและการฝึกฝนคือสิ่งสำคัญที่จะทำให้ฝีมือในการเพนท์ของคุณนั้นพัฒนาขึ้นครับ มันไม่มีทางลัดที่จะทำให้คุณทำงานดีขึ้นในช่วงเวลาข้ามคืน ทุกๆอย่างต้องค่อยๆฝึกฝนและเรียนรู้ไปครับ ผมเชื่อว่าไม่ว่าใครก็สามารถเพนท์งานให้ดีขึ้นได้หากคุณมีความตั้งใจฝึกฝนและพัฒนาตัวเองอยู่ตลอด ดังนั้นไม่จำเป็นต้องรีบร้อน ค่อยๆเรียนรู้และฝึกฝนไปเรื่อยๆ ส่วนจะพัฒนาได้ช้าหรือเร็วนั้นก็ขึ้นอยู่กับความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาตัวเองของคุณครับ และหากคุณสามารถทำงานได้อย่างมีความสุขและสนุกกับมันแล้ว เมื่อนั้นคุณจะไม่รู้สึกเลยว่าการฝึกฝนและพัฒนาฝีมือของคุณมันเป็นเรื่องที่ยากลำบากหรือน่าเบื่อครับ
Happy Painting ครับ :)
1/10 scale resin bust
Sculpted by Ebroin
Here is my latest finished historical/military subject for the first time in three years. It was really great to be back on my favorite subject once again, I had so much fun painting this bust. The painting techniques I have learned from painting miniature wargames were very useful on this project, my effort finally paid off. Because to paint a better military figure was the reason I wanted to learn to paint with acrylic.
I will try to paint historical/military figures more often in the future. I already have a few busts and figures waiting on my workbench, hope I will have a chance to finish them soon.
Happy Painting to all of you guys :)
งานชิ้นนี้เป็นผลงานล่าสุดของผมในประเภทฟิกเกอร์แนวประวัติศาสตร์หรือทหาร ที่ทำเสร็จในรอบสามปีครับ หลังจากที่ไม่ได้ทำงานในแนวนี้ให้เสร็จเป็นชิ้นเป็นอันมานาน มันจึงรู้สึกดีมากๆที่ได้กลับมาทำงานในแบบที่ผมชอบอีกครั้ง และรู้สึกสนุกมากๆกับการเพนท์บัสตัวนี้ ซึ่งเทคนิคต่างๆของการเพนท์สีอะคริลิคที่ผมได้เรียนรู้และฝึกฝนจากการเพนท์งานประเภท miniature wargames นั้น ก็เป็นประโยชน์อย่างมากเมื่อนำมาลองใช้กับงานประเภททหารบนบัสชิ้นนี้ครับ
มันทำให้รู้สึกว่าเวลาสามปีที่ฝึกฝนการเพนท์ด้วยสีอะคริลิคนั้นไม่ได้ศูนย์เปล่าเลย แม้ว่าที่ผ่านมาจะทำแต่งานในแนว ไซไฟ-แฟนตาซี มาโดยตลอด แต่งานบัสชิ้นนี้ก็ช่วยแสดงให้เห็นว่าเทคนิคต่างๆในการเพนท์นั้นก็ไม่ได้ต่างกัน และบางอย่างก็สามารถปรับใช้ร่วมกันได้เป็นอย่างดี
ผมเองหันมาสนใจในสีอะคริลิคและเปลี่ยนมาลองใช้สีอะคริลิคในการเพนท์งานแบบเต็มรูปแบบ เพราะว่าอยากที่จะพัฒนาการเพนท์ฟิกเกอร์แนวทหารของตัวเองให้ดีขึ้น ซึ่งตอนนี้ก็ได้เห็นผลลัพท์ของความพยายามที่ผ่านมาแล้วครับ ดังนั้นจึงอยากฝากถึงท่านที่กำลังฝึกฝนการเพนท์ฟิกเกอร์อยู่ว่า ความพยายามและการฝึกฝนคือสิ่งสำคัญที่จะทำให้ฝีมือในการเพนท์ของคุณนั้นพัฒนาขึ้นครับ มันไม่มีทางลัดที่จะทำให้คุณทำงานดีขึ้นในช่วงเวลาข้ามคืน ทุกๆอย่างต้องค่อยๆฝึกฝนและเรียนรู้ไปครับ ผมเชื่อว่าไม่ว่าใครก็สามารถเพนท์งานให้ดีขึ้นได้หากคุณมีความตั้งใจฝึกฝนและพัฒนาตัวเองอยู่ตลอด ดังนั้นไม่จำเป็นต้องรีบร้อน ค่อยๆเรียนรู้และฝึกฝนไปเรื่อยๆ ส่วนจะพัฒนาได้ช้าหรือเร็วนั้นก็ขึ้นอยู่กับความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาตัวเองของคุณครับ และหากคุณสามารถทำงานได้อย่างมีความสุขและสนุกกับมันแล้ว เมื่อนั้นคุณจะไม่รู้สึกเลยว่าการฝึกฝนและพัฒนาฝีมือของคุณมันเป็นเรื่องที่ยากลำบากหรือน่าเบื่อครับ
Happy Painting ครับ :)
Thursday, January 8, 2015
Soviet Mountaineer Officer 1942 (part 6)
Step by Step Tutorial: How to paint a wooden gunstock (1/10 scale)
PPSh-41 submachine gun was a reason I bought this kit. Because it has just a few busts that comes with a full gun and it makes the bust look more attractive, in my opinion. I also like the design of this gun and it looks really great when hung on the bust.
In this last part, I would like to show you a step-by-step tutorial on how to paint a wooden gunstock. It was my first time to paint a gun in this big scale, so I started with searching for the PPSh-41 images on the internet. In order to see the material, color, wood grain on the real gun and used it as a reference, so it would be easy to paint rather than painted from your imagination. However, each gunstock has differences in color and wood grain so I chose the reference that not too difficult to paint.
ปืนกลแบบ PPSh-41 เป็นเหตุผลที่ทำให้ผมเลือกซื้อบัสกล่องนี้ เพราะว่ามันมีโมเดลบัสเพียงไม่กี่แบบในท้องตลาด ที่ปั้นมาพร้อมกับปืนแบบเต็มกระบอก ซึ่งส่วนตัวแล้วผมรู้สึกว่าการที่มีปืนมาให้ด้วยแบบนี้มันทำให้ตัวบัสนั้นดูน่าสนใจขึ้นมากครับ อีกอย่างคือผมชอบในการออกแบบของปืนรุ่นนี้ที่ดูเป็นเอกลักษณ์ดี โดยเฉพาะรูระบายความร้อนที่ลำกล้อง และมันยังดูสวยและเข้ากับตัวบัสมากเมื่อนำไปแขวนไว้ครับ
ในครั้งนี้จะเป็นตอนสุดท้ายของโครงการนี้ครับ ดังนั้นผมเลยนำวิธีการเพนท์ลายไม้บนพานท้ายปืนมาฝากกัน ซึ่งนี่เป็นครั้งแรกที่ผมได้ลองเพนท์ปืนในสเกลใหญ่ ดังนั้นจึงต้องหาภาพอ้างอิงหลายๆมุมมาจากอินเทอร์เน็ต เพื่อที่จะได้เห็นถึงสีของวัสดุและลักษณะของลายไม้บนปืนจริงว่าเป็นอย่างไร และใช้เป็นต้นแบบเวลานำไปวาดลงบนโมเดล เพื่อให้การทำงานนั้นง่ายขึ้น เนื่องจากปืนของจริงแต่ละกระบอกนั้นจะมีสีสรรและลักษณะของลายไม้ที่แตกต่างกัน ดังนั้นผมจึงเลือกหาภาพลายไม้แบบที่ดูไม่ซับซ้อนเกินไป และง่ายต่อการนำไปเพนท์ครับ
1. I started with a black primer from Citadel (Chaos Black), then applied a base color on a gunstock with Flat Brown (VMC 70984)
1. ผมเริ่มด้วยการพ่นรองพื้นปืนด้วยสีดำของ Citadel สี Chaos Black ครับ จากนั้นทาสีพื้นของพานท้ายด้วยสี Flat Brown (VMC 70984)
2. I then mixed the base color with Orange Brown (VMC 70981) and applied it as a faded spot on the gunstock.
2. ขั้นต่อมาผสมสี Orange Brown (VMC 70981) กับสีพื้น และทาลงบนพานท้ายปืนในบริเวณที่กำหนดให้เป็นส่วนที่สีไม้ของพานท้ายนั้นซีดจางลง
3. I added more Orange Brown in the previous mixture for a brighter shade and blended it on the faded spots.
3. จากนั้นผสมสี Orange Brown เพิ่มเข้าไปในสีเดิมให้สีนั้นสว่างขึ้น แล้วทาเกลี่ยไล่แสงเงาบนพื้นที่สีซีดอีกครั้ง จะเห็นว่าสีนั้นไล่จากสว่างทางด้านหน้าของจุดที่สีซีด ไปยังสีเข้มทางด้านหลังของพานท้ายปืน
4. This gun has already sculpted wood grain on the gunstock, so I used it as a guidance for the direction of the wood grain and used an image of the real gun as a reference for the pattern. I drew the wood grain on the gunstock with German Camo. Black Brown (VMC 70822) mixed with a bit of Flat Brown.
4. พื้นผิวของพานท้ายปืนกระบอกนี้นั้นปั้นมาให้เป็นลายไม้อยู่แล้ว ดังนั้นผมจึงยึดการเพนท์ลายไม้ไปตามแนวของพื้นผิวที่ได้ปั้นไว้ และใช้ภาพอ้างอิงช่วยในการดูรูปแบบลักษณะของลายไม้ ผมใช้สี German Camo. Black Brown (VMC 70822) ผสมกับสี Flat Brown เล็กน้อยในการวาดลายไม้
5. In previous step, I drew the lines as a quick sketch in order to see the overall pattern of the wood grain, so it has some mistakes and too thick in some lines. I then removed the excess and thinned each lines with the colors from previous steps and made it look sharp and clean.
5. ในขั้นที่แล้วนั้นการวาดลายไม้จะเป็นการวาดแบบหยาบๆ เพื่อให้เห็นภาพรวมของลายทั้งหมด ดังนั้นจึงมีส่วนของเส้นที่ไม่เรียบร้อย ทั้งส่วนเกินหรือเส้นที่หนาเกินไป ผมจึงใช้สีพื้นของไม้จากขั้นตอนก่อนหน้านี้ มาทาลบในส่วนเกินและทาเก็บให้เส้นนั้นเล็กลงอีกรอบหนึ่ง
PPSh-41 submachine gun was a reason I bought this kit. Because it has just a few busts that comes with a full gun and it makes the bust look more attractive, in my opinion. I also like the design of this gun and it looks really great when hung on the bust.
In this last part, I would like to show you a step-by-step tutorial on how to paint a wooden gunstock. It was my first time to paint a gun in this big scale, so I started with searching for the PPSh-41 images on the internet. In order to see the material, color, wood grain on the real gun and used it as a reference, so it would be easy to paint rather than painted from your imagination. However, each gunstock has differences in color and wood grain so I chose the reference that not too difficult to paint.
ปืนกลแบบ PPSh-41 เป็นเหตุผลที่ทำให้ผมเลือกซื้อบัสกล่องนี้ เพราะว่ามันมีโมเดลบัสเพียงไม่กี่แบบในท้องตลาด ที่ปั้นมาพร้อมกับปืนแบบเต็มกระบอก ซึ่งส่วนตัวแล้วผมรู้สึกว่าการที่มีปืนมาให้ด้วยแบบนี้มันทำให้ตัวบัสนั้นดูน่าสนใจขึ้นมากครับ อีกอย่างคือผมชอบในการออกแบบของปืนรุ่นนี้ที่ดูเป็นเอกลักษณ์ดี โดยเฉพาะรูระบายความร้อนที่ลำกล้อง และมันยังดูสวยและเข้ากับตัวบัสมากเมื่อนำไปแขวนไว้ครับ
ในครั้งนี้จะเป็นตอนสุดท้ายของโครงการนี้ครับ ดังนั้นผมเลยนำวิธีการเพนท์ลายไม้บนพานท้ายปืนมาฝากกัน ซึ่งนี่เป็นครั้งแรกที่ผมได้ลองเพนท์ปืนในสเกลใหญ่ ดังนั้นจึงต้องหาภาพอ้างอิงหลายๆมุมมาจากอินเทอร์เน็ต เพื่อที่จะได้เห็นถึงสีของวัสดุและลักษณะของลายไม้บนปืนจริงว่าเป็นอย่างไร และใช้เป็นต้นแบบเวลานำไปวาดลงบนโมเดล เพื่อให้การทำงานนั้นง่ายขึ้น เนื่องจากปืนของจริงแต่ละกระบอกนั้นจะมีสีสรรและลักษณะของลายไม้ที่แตกต่างกัน ดังนั้นผมจึงเลือกหาภาพลายไม้แบบที่ดูไม่ซับซ้อนเกินไป และง่ายต่อการนำไปเพนท์ครับ
1. I started with a black primer from Citadel (Chaos Black), then applied a base color on a gunstock with Flat Brown (VMC 70984)
1. ผมเริ่มด้วยการพ่นรองพื้นปืนด้วยสีดำของ Citadel สี Chaos Black ครับ จากนั้นทาสีพื้นของพานท้ายด้วยสี Flat Brown (VMC 70984)
2. I then mixed the base color with Orange Brown (VMC 70981) and applied it as a faded spot on the gunstock.
2. ขั้นต่อมาผสมสี Orange Brown (VMC 70981) กับสีพื้น และทาลงบนพานท้ายปืนในบริเวณที่กำหนดให้เป็นส่วนที่สีไม้ของพานท้ายนั้นซีดจางลง
3. I added more Orange Brown in the previous mixture for a brighter shade and blended it on the faded spots.
3. จากนั้นผสมสี Orange Brown เพิ่มเข้าไปในสีเดิมให้สีนั้นสว่างขึ้น แล้วทาเกลี่ยไล่แสงเงาบนพื้นที่สีซีดอีกครั้ง จะเห็นว่าสีนั้นไล่จากสว่างทางด้านหน้าของจุดที่สีซีด ไปยังสีเข้มทางด้านหลังของพานท้ายปืน
4. This gun has already sculpted wood grain on the gunstock, so I used it as a guidance for the direction of the wood grain and used an image of the real gun as a reference for the pattern. I drew the wood grain on the gunstock with German Camo. Black Brown (VMC 70822) mixed with a bit of Flat Brown.
4. พื้นผิวของพานท้ายปืนกระบอกนี้นั้นปั้นมาให้เป็นลายไม้อยู่แล้ว ดังนั้นผมจึงยึดการเพนท์ลายไม้ไปตามแนวของพื้นผิวที่ได้ปั้นไว้ และใช้ภาพอ้างอิงช่วยในการดูรูปแบบลักษณะของลายไม้ ผมใช้สี German Camo. Black Brown (VMC 70822) ผสมกับสี Flat Brown เล็กน้อยในการวาดลายไม้
5. In previous step, I drew the lines as a quick sketch in order to see the overall pattern of the wood grain, so it has some mistakes and too thick in some lines. I then removed the excess and thinned each lines with the colors from previous steps and made it look sharp and clean.
5. ในขั้นที่แล้วนั้นการวาดลายไม้จะเป็นการวาดแบบหยาบๆ เพื่อให้เห็นภาพรวมของลายทั้งหมด ดังนั้นจึงมีส่วนของเส้นที่ไม่เรียบร้อย ทั้งส่วนเกินหรือเส้นที่หนาเกินไป ผมจึงใช้สีพื้นของไม้จากขั้นตอนก่อนหน้านี้ มาทาลบในส่วนเกินและทาเก็บให้เส้นนั้นเล็กลงอีกรอบหนึ่ง
6. In order to harmonize the colors on the gunstock, I used Orange Brown mixed with a bit of Flat Brown and glazed a few times on the faded spots.
6. หลังจากที่ทาเก็บเส้นเรียบร้อยแล้ว เพื่อให้สีเข้มของเส้นและสีอ่อนของพื้นไม้นั้นดูกลมกลืนกันมากขึ้น ผมใช้การทาย้อมสีแบบที่เรียกกันว่า เกลซซิ่ง Glazing Technique ซึ่งวิธีแบบเกลซนี้วิธีการทำจะคล้ายๆกับการวอชสี แต่ต่างกันตรงการวอชสีนั้นเพื่อที่จะเน้นรายละเอียดบนผิวงาน แต่การเกลซนั้นจะใช้เพื่อย้อมสีบนผิวงาน
อย่างในกรณีที่ทำมาให้ดูนี้ จะเห็นว่าสีเข้มของลายไม้จะดูตัดกับสีในบริเวณที่ซีดลงชัดเจน ผมจึงทำให้สีทั้งสองนี้ดูกลืนกันมากขึ้นโดยการเกลซทับในบริเวณนี้ด้วยสี Orange Brown ผสมกับ Flat Brown เล็กน้อย และผสมน้ำพอสมควรเพื่อให้สีนั้นค่อนข้างใส และทาทับไปบางๆทีละรอบๆ สีที่ทาทับไปนี้จะไปเคลือบบางๆอยู่บนสีทั้งสองจนย้อมให้สีนั้นดูเปลี่ยนไปเล็กน้อย ซึ่งจะเห็นว่าสีเข้มของลายไม้นั้นจะถูกย้อมให้สีนั้นจางลงและดูกลืนเข้ากับสีของพื้นไม้มากขึ้นครับ
7. I then used Flat Brown mixed with Cavalry Brown (VMC 70982) and glazed on the rest of the gunstock, especially on the grip area and lower area of the stock.
7. การเกลซนั้นทำได้ทั้งสีโทนอ่อนหรือเข้มครับ จากขั้นตอนที่แล้วที่ได้ย้อมในส่วนสว่างไป ในขั้นตอนนี้ก็ย้อมในส่วนของสีเข้มโดยการใช้สี Flat Brown ผสมกับ Cavalry Brown (VMC 70982) จากนั้นผสมน้ำให้สีค่อนข้างใสแล้วทาย้อมในส่วนอื่นๆของพานท้าย โดยเน้นในส่วนของบริเวณที่มือจับและด้านล่างของพานท้ายให้สองส่วนนี้นั้นดูเข้มมากขึ้นครับ
8. After glazed several times on the gunstock, the color on the gunstock has changed into more reddish brown and the dark brown lines are not look stand out as it was before. I then painted the edge of the gunstock with Orange Brown mixed with a bit of Flat Brown.
8. หลังจากที่ทาแบบเกลซเพื่อย้อมสีเสร็จแล้ว จะเห็นว่าสีของลายไม้ที่ตอนแรกดูเข้มนั้น ตอนนี้จะดูกลืนเข้ากับสีของส่วนต่างๆมากขึ้น รวมถึงสีบริเวณที่มือจับและด้านล่างของพานท้ายจะดูเป็นสีน้ำตาลอมแดงมากขึ้นกว่าเดิมครับ จากนั้นผมทาเก็บสีขอบของไม้ที่ติดกับส่วนเหล็กอีกครั้งด้วยสี Orange Brown ผสมกับ Flat Brown
9. 1/10 scale gun is big enough to show the details on the wood, I used Orange Brown mixed with a bit of Flat Brown and painted it as small patches and dots on the faded area. I then painted the small patches and dots on nearby areas but used the colors from step 2 and 3, in order to create a gradient of the painted detail colors from light to dark on the faded area to the reddish brown area.
This method is like to create wear and tear on the varnish, not to create the texture of the wood.
9. ปืนในขนาด 1/10 นั้นใหญ่พอที่จะเห็นถึงรายละเอียดต่างๆได้ชัดเจนครับ ดังนั้นผมจึงเพิ่มรายละเอียดบนส่วนของพื้นผิวไม้โดยใช้สี Orange Brown ผสมกับ Flat Brown นิดเดียว และทาแบบแต้มเป็นจุดหรือรอยเล็กๆบนส่วนของสีที่ซีดลง เพื่อเน้นให้สีในบริเวณนี้นั้นมีความหลากหลายมากขึ้น จากนั้นใช้การทาแบบแต้มเป็นจุดหรือรอยเล็กๆในส่วนอื่นๆที่เหลือ แต่เปลี่ยนไปใช้สีที่เข้มกว่าที่ใช้ทาในขั้นตอนที่ 2 และ 3 ครับ เพื่อที่จะทาให้สีของรอยแต้มเล็กๆนี้นั้นไล่ระดับสีจากอ่อนไปเข้มในส่วนของสีไม้ที่ซีดไปยังส่วนของสีไม้ที่เข้มครับ ในการทำสีขั้นตอนนี้นั้น จะเหมือนกับการทำให้สีที่เคลือบผิวไม้เอาไว้ ดูเหมือนผ่านสภาพการใช้งานมาจนมีการสึกหรอและซีดจาง มากกว่าที่จะเป็นการเพนท์เพื่อเลียนแบบเนื้อไม้ครับ
10. I added stains and scratches on the gunstock with German Camo. Black Brown.
10. จากนั้นผมเพิ่มรอยคราบสกปรกและรอยขีดข่วนบนผิวไม้ด้วยสี German Camo. Black Brown
11. I coated the gunstock with Satin Varnish (VMC 70522) for a satin finish.
11. ต่อด้วยการทาเคลือบผิวของส่วนที่เป็นไม้ด้วยสี Satin Varnish (VMC 70522) เพื่อให้ได้ลักษณะของผิวไม้แบบกึ่งมันกึ่งด้านครับ
12. A finished pic of the wooden gunstock.
12. เมื่อสีเคลือบนั้นแห้งแล้ว ผิวไม้จะดูเงาขึ้นเล็กน้อยครับ
13. For painting the rest of the gun (metallic area), I used the Silver Paint Set from Andrea Color. This set comes with three metallic paints and three inks for wash or shading metallic.
13. สำหรับการเพนท์ส่วนของเหล็กนั้น ผมใช้สีอะคริลิคของยี่ห้อ Andrea Miniatures เป็นสีชุดสำหรับเพนท์โลหะชื่อ Silver Paint Set ซึ่งในสีชุดนี้จะมีมาให้ทั้งหมด 6 ขวด เป็นสีเมทัลลิคสามขวด และสีหมึกสำหรับใช้ในการย้อมสีหรือไล่สีอีกสามขวด
14. I applied the base color with Shadow Lead mixed with Black Ink. Andrea metallic paints was very shiny when reflected with the light, but it looks too bright and does not suit with the metallic color of the real gun.
14. ผมเลือกใช้สี Shadow Lead ผสมกับสีหมึกสีดำ เป็นสีพื้นของปืน สีเมทัลลิคของแอนเดรียนั้นค่อนข้างจะมันวาวมากเมื่อสะท้อนกับแสงครับ การผสมกับสีหมึกนั้นจะช่วยลดการสะท้อนของเกล็ดสีเมทัลลิคลง แต่ยังคงลักษณะของสีเมทัลลิคที่จะดูมันเงาไว้ ลองดูตัวอย่างในภาพ แม้จะผสมสีเมทัลลิคกับสีหมึกแล้ว แต่ยังคงเห็นการสะท้อนของเกล็ดสีเมทัลลิคได้ชัดอยู่ ซึ่งทำให้สีของปืนนั้นดูสว่างเกินไปไม่เหมือนกับภาพต้นแบบครับ
15. I used Black Ink mixed with Brown Ink and washed on the metallic paint, in order to reduce the sheen from metallic paint and darken the color. You can see a difference between both areas; base color on the left part and after washed with ink on the barrel and drum magazine.
15. ดังนั้นผมจึงใช้สีหมึกสีดำผสมกับสีหมึกสีน้ำตาล นำมาทาวอชบนสีเมทัลลิคอีกรอบครับ เนื่องจากคุณสมบัติของสีหมึกนั้นจะมีความทึบสีสูงและให้พื้นผิวแบบกึ่งเงาเมื่อแห้ง เมื่อนำมาใช้วอชกับสีเมทัลลิคแล้วจึงทำให้ส่วนที่โดนย้อมนั้นเข้มขึ้นได้ง่ายและลดการสะท้อนแสงลง แต่ยังคงให้ลักษณะของผิวแบบเมทัลลิคอยู่ครับ ดังตัวอย่างในภาพตรงลูกศรสีแดงคือส่วนที่ทาวอชด้วยสีหมึกแล้ว สีตรงส่วนนั้นจะดูเข้มขึ้นแต่ยังคงลักษณะของสีเมทัลลิคที่จะเห็นเกล็ดสีและยังมีพื้นผิวที่มันเงาอยู่
16. After washed the whole metallic area with ink, I used Base Steel mixed with White Silver and painted on the edge of the front and rear sight, cooling holes, drum magazine, trigger and its guard, and it's finished.
16. เมื่อทาวอชด้วยสีหมึกทั้งหมดแล้วครับ จากนั้นผมใช้สีเมทัลลิค Base Steel ผสมกับ White Silver นำมาทาเก็บรายละเอียดตามขอบของส่วนต่างๆบนปืนอีกที เพื่อจำลองการสะท้อนแสงของเหล็กครับ โดยจะทาตามขอบของศูนย์เล็งหน้าและหลัง รูระบายความร้อนที่ลำกล้อง ดรัมแมกกาซีน รวมไปถึงบริเวณโกร่งไกปืน เป็นอันเสร็จครับ
6. หลังจากที่ทาเก็บเส้นเรียบร้อยแล้ว เพื่อให้สีเข้มของเส้นและสีอ่อนของพื้นไม้นั้นดูกลมกลืนกันมากขึ้น ผมใช้การทาย้อมสีแบบที่เรียกกันว่า เกลซซิ่ง Glazing Technique ซึ่งวิธีแบบเกลซนี้วิธีการทำจะคล้ายๆกับการวอชสี แต่ต่างกันตรงการวอชสีนั้นเพื่อที่จะเน้นรายละเอียดบนผิวงาน แต่การเกลซนั้นจะใช้เพื่อย้อมสีบนผิวงาน
อย่างในกรณีที่ทำมาให้ดูนี้ จะเห็นว่าสีเข้มของลายไม้จะดูตัดกับสีในบริเวณที่ซีดลงชัดเจน ผมจึงทำให้สีทั้งสองนี้ดูกลืนกันมากขึ้นโดยการเกลซทับในบริเวณนี้ด้วยสี Orange Brown ผสมกับ Flat Brown เล็กน้อย และผสมน้ำพอสมควรเพื่อให้สีนั้นค่อนข้างใส และทาทับไปบางๆทีละรอบๆ สีที่ทาทับไปนี้จะไปเคลือบบางๆอยู่บนสีทั้งสองจนย้อมให้สีนั้นดูเปลี่ยนไปเล็กน้อย ซึ่งจะเห็นว่าสีเข้มของลายไม้นั้นจะถูกย้อมให้สีนั้นจางลงและดูกลืนเข้ากับสีของพื้นไม้มากขึ้นครับ
7. I then used Flat Brown mixed with Cavalry Brown (VMC 70982) and glazed on the rest of the gunstock, especially on the grip area and lower area of the stock.
7. การเกลซนั้นทำได้ทั้งสีโทนอ่อนหรือเข้มครับ จากขั้นตอนที่แล้วที่ได้ย้อมในส่วนสว่างไป ในขั้นตอนนี้ก็ย้อมในส่วนของสีเข้มโดยการใช้สี Flat Brown ผสมกับ Cavalry Brown (VMC 70982) จากนั้นผสมน้ำให้สีค่อนข้างใสแล้วทาย้อมในส่วนอื่นๆของพานท้าย โดยเน้นในส่วนของบริเวณที่มือจับและด้านล่างของพานท้ายให้สองส่วนนี้นั้นดูเข้มมากขึ้นครับ
8. After glazed several times on the gunstock, the color on the gunstock has changed into more reddish brown and the dark brown lines are not look stand out as it was before. I then painted the edge of the gunstock with Orange Brown mixed with a bit of Flat Brown.
8. หลังจากที่ทาแบบเกลซเพื่อย้อมสีเสร็จแล้ว จะเห็นว่าสีของลายไม้ที่ตอนแรกดูเข้มนั้น ตอนนี้จะดูกลืนเข้ากับสีของส่วนต่างๆมากขึ้น รวมถึงสีบริเวณที่มือจับและด้านล่างของพานท้ายจะดูเป็นสีน้ำตาลอมแดงมากขึ้นกว่าเดิมครับ จากนั้นผมทาเก็บสีขอบของไม้ที่ติดกับส่วนเหล็กอีกครั้งด้วยสี Orange Brown ผสมกับ Flat Brown
9. 1/10 scale gun is big enough to show the details on the wood, I used Orange Brown mixed with a bit of Flat Brown and painted it as small patches and dots on the faded area. I then painted the small patches and dots on nearby areas but used the colors from step 2 and 3, in order to create a gradient of the painted detail colors from light to dark on the faded area to the reddish brown area.
This method is like to create wear and tear on the varnish, not to create the texture of the wood.
9. ปืนในขนาด 1/10 นั้นใหญ่พอที่จะเห็นถึงรายละเอียดต่างๆได้ชัดเจนครับ ดังนั้นผมจึงเพิ่มรายละเอียดบนส่วนของพื้นผิวไม้โดยใช้สี Orange Brown ผสมกับ Flat Brown นิดเดียว และทาแบบแต้มเป็นจุดหรือรอยเล็กๆบนส่วนของสีที่ซีดลง เพื่อเน้นให้สีในบริเวณนี้นั้นมีความหลากหลายมากขึ้น จากนั้นใช้การทาแบบแต้มเป็นจุดหรือรอยเล็กๆในส่วนอื่นๆที่เหลือ แต่เปลี่ยนไปใช้สีที่เข้มกว่าที่ใช้ทาในขั้นตอนที่ 2 และ 3 ครับ เพื่อที่จะทาให้สีของรอยแต้มเล็กๆนี้นั้นไล่ระดับสีจากอ่อนไปเข้มในส่วนของสีไม้ที่ซีดไปยังส่วนของสีไม้ที่เข้มครับ ในการทำสีขั้นตอนนี้นั้น จะเหมือนกับการทำให้สีที่เคลือบผิวไม้เอาไว้ ดูเหมือนผ่านสภาพการใช้งานมาจนมีการสึกหรอและซีดจาง มากกว่าที่จะเป็นการเพนท์เพื่อเลียนแบบเนื้อไม้ครับ
10. I added stains and scratches on the gunstock with German Camo. Black Brown.
10. จากนั้นผมเพิ่มรอยคราบสกปรกและรอยขีดข่วนบนผิวไม้ด้วยสี German Camo. Black Brown
11. I coated the gunstock with Satin Varnish (VMC 70522) for a satin finish.
11. ต่อด้วยการทาเคลือบผิวของส่วนที่เป็นไม้ด้วยสี Satin Varnish (VMC 70522) เพื่อให้ได้ลักษณะของผิวไม้แบบกึ่งมันกึ่งด้านครับ
12. A finished pic of the wooden gunstock.
12. เมื่อสีเคลือบนั้นแห้งแล้ว ผิวไม้จะดูเงาขึ้นเล็กน้อยครับ
13. For painting the rest of the gun (metallic area), I used the Silver Paint Set from Andrea Color. This set comes with three metallic paints and three inks for wash or shading metallic.
13. สำหรับการเพนท์ส่วนของเหล็กนั้น ผมใช้สีอะคริลิคของยี่ห้อ Andrea Miniatures เป็นสีชุดสำหรับเพนท์โลหะชื่อ Silver Paint Set ซึ่งในสีชุดนี้จะมีมาให้ทั้งหมด 6 ขวด เป็นสีเมทัลลิคสามขวด และสีหมึกสำหรับใช้ในการย้อมสีหรือไล่สีอีกสามขวด
14. I applied the base color with Shadow Lead mixed with Black Ink. Andrea metallic paints was very shiny when reflected with the light, but it looks too bright and does not suit with the metallic color of the real gun.
14. ผมเลือกใช้สี Shadow Lead ผสมกับสีหมึกสีดำ เป็นสีพื้นของปืน สีเมทัลลิคของแอนเดรียนั้นค่อนข้างจะมันวาวมากเมื่อสะท้อนกับแสงครับ การผสมกับสีหมึกนั้นจะช่วยลดการสะท้อนของเกล็ดสีเมทัลลิคลง แต่ยังคงลักษณะของสีเมทัลลิคที่จะดูมันเงาไว้ ลองดูตัวอย่างในภาพ แม้จะผสมสีเมทัลลิคกับสีหมึกแล้ว แต่ยังคงเห็นการสะท้อนของเกล็ดสีเมทัลลิคได้ชัดอยู่ ซึ่งทำให้สีของปืนนั้นดูสว่างเกินไปไม่เหมือนกับภาพต้นแบบครับ
15. I used Black Ink mixed with Brown Ink and washed on the metallic paint, in order to reduce the sheen from metallic paint and darken the color. You can see a difference between both areas; base color on the left part and after washed with ink on the barrel and drum magazine.
15. ดังนั้นผมจึงใช้สีหมึกสีดำผสมกับสีหมึกสีน้ำตาล นำมาทาวอชบนสีเมทัลลิคอีกรอบครับ เนื่องจากคุณสมบัติของสีหมึกนั้นจะมีความทึบสีสูงและให้พื้นผิวแบบกึ่งเงาเมื่อแห้ง เมื่อนำมาใช้วอชกับสีเมทัลลิคแล้วจึงทำให้ส่วนที่โดนย้อมนั้นเข้มขึ้นได้ง่ายและลดการสะท้อนแสงลง แต่ยังคงให้ลักษณะของผิวแบบเมทัลลิคอยู่ครับ ดังตัวอย่างในภาพตรงลูกศรสีแดงคือส่วนที่ทาวอชด้วยสีหมึกแล้ว สีตรงส่วนนั้นจะดูเข้มขึ้นแต่ยังคงลักษณะของสีเมทัลลิคที่จะเห็นเกล็ดสีและยังมีพื้นผิวที่มันเงาอยู่
16. เมื่อทาวอชด้วยสีหมึกทั้งหมดแล้วครับ จากนั้นผมใช้สีเมทัลลิค Base Steel ผสมกับ White Silver นำมาทาเก็บรายละเอียดตามขอบของส่วนต่างๆบนปืนอีกที เพื่อจำลองการสะท้อนแสงของเหล็กครับ โดยจะทาตามขอบของศูนย์เล็งหน้าและหลัง รูระบายความร้อนที่ลำกล้อง ดรัมแมกกาซีน รวมไปถึงบริเวณโกร่งไกปืน เป็นอันเสร็จครับ
References for PPSh-41
image courtesy of luger.gunboards.com |
image courtesy of waffen-hege.de |