I decided to make the groundwork for this scene before continuing on weathering the head because there will be more details to add onto the head, and it will be more easy to do that after placing the head in the position I have planned.
The concept of this scene is about the Zaku head that somehow fell onto the building and made it collapse. I started by filling the base with small pieces of plaster plate and debris, then glued the head in the desired position. The space on the right side and underneath the head will be filled in later with collapsed floors and debris that made from plaster.
As you can see, I already made some collapsed floors by casting a plaster plate and put a small wire mesh inside. When it completely dried, I broke the plaster plate with my hands, cut the mesh with art knife, and used CA glue for the loosed pieces.
หลังจากที่ทำสีส่วนหัวเสร็จแล้ว ก่อนที่จะเริ่มทำการเวทเธอริ่งในขั้นตอนต่อไป ผมเลือกที่จะทำส่วนของฐานสำหรับงานชิ้นนี้ก่อน เนื่องจากจะต้องใส่รายละเอียดเพิ่มเติมลงบนส่วนหัวเช่นพวกสายไฟต่างๆ ซึ่งมันจะทำได้ดีกว่าหากติดตั้งส่วนหัวลงบนฐานในตำแหน่งที่คิดไว้แล้วครับ
สำหรับแนวคิดในการทำงานชิ้นนี้จะเป็นเรื่องราวของหัวหุ่นซาคุที่หลุดออกมาจากตัวหุ่นและหล่นทับลงบนอาคารทำให้อาคารนั้นถล่มจากแรงกระแทกครับ ซึ่งการทำฉากนี้ก็จะเริ่มจากการทำส่วนพื้นด้วยปูนพลาสเตอร์ โดยการทำบล็อกหล่อแบบขึ้นมาเป็นแผ่นปูนผิวเรียบ แล้วนำมาทุบให้แตกออกเป็นชิ้นติดลงไปบนฐาน นำแผ่นปูนบางส่วนมาทุบให้เป็นชิ้นเล็กๆนำมาติดให้ครอบคลุมส่วนพื้นทั้งหมด จากนั้นจึงนำส่วนหัวซาคุมาติดตามแบบที่คิดไว้ ในขั้นตอนนี้อาจจะต้องใช้จินตนาการมากสักหน่อย เพราะเป็นการจัดวางตามแบบที่มีอยู่ในหัว อย่างที่เห็นในภาพพื้นที่ว่างด้านขวาของหัวและพื้นที่ว่างด้านใต้ของหัวจะถูกเติมให้เต็มในภายหลังด้วยซากอาคารที่ถล่มลงมาครับ
ส่วนตัวเวลาจะทำฉากใดๆก็จะคิดและจินตนาการรูปแบบที่ต้องการจะทำรวมถึงวิธีการในการที่จะทำเอาไว้ให้สมบูรณ์ในระดับหนึ่ง เช่นภาพรวมทั้งหมดว่าต้องการจัดวางทิศทางหรือองค์ประกอบแบบไหน (แต่ไม่รวมถึงส่วนของรายละเอียดปลีกย่อยที่ค่อยมาเพิ่มเติมทีหลังได้) พอถึงเวลาลงมือทำจะได้ไม่ติดขัดและทำไปเรื่อยๆจนได้ตามแบบที่คิดเอาไว้ครับ สำหรับคนที่ยังมีประสบการณ์ในการทำงานประเภทนี้ไม่มากนัก แนะนำว่าให้ลองนำตัวโมเดลที่จะทำมาลองจัดวางดูเป็น mock up model ก่อนที่จะลงมือทำจริง โดยอาจจะใช้กระดาษหรือโฟมมาแทนส่วนประกอบอื่นๆเช่นอาคาร ต้นไม้ ภูเขา เป็นต้น เพื่อจะได้ดูการจัดองค์ประกอบ ขนาดพื้นที่และทิศทางการจัดวางต่างๆก่อนที่จะลงมือทำจริง แล้วถ่ายภาพเก็บไว้เป็นตัวอย่าง หรือถ้ามีฝีมือทางการวาดรูปจะใช้การสเก็ตช์ภาพเป็นแบบไว้ก็ได้ครับ ซึ่งการทดลองทำดูก่อนแบบนี้จะช่วยได้มาก โดยเฉพาะฉากที่มีขนาดใหญ่ ทำให้เราเห็นฉากที่เราต้องการจะทำได้ชัดเจน มีทิศทางในการทำงานที่แน่นอนครับ
ในภาพที่สองจะเห็นแผ่นปูนพลาสเตอร์ที่ผมทำเอาไว้ เป็นส่วนของพื้นอาคารที่ถล่มลงมา และจะนำมาติดในขั้นตอนต่อไป ส่วนวิธีการทำ ผมใช้การหล่อแผ่นปูนจากบล็อกหล่อแบบที่ทำจากแผ่นพลาสติก เพื่อให้ได้แผ่นปูนที่มีผิวเรียบ โดยในช่วงที่เทปูนลงในบล็อกไปแล้วส่วนหนึ่ง ผมนำมุ้งลวดมาใส่ลงไปด้านในแล้วเทปูนทับจนเต็มบล็อก ใช้ไม้บรรทัดเหล็กมาปาดตรงขอบกั้นเพื่อให้ได้หน้าปูนที่เรียบเสมอกัน เมื่อทิ้งไว้จนแห้งสนิทแล้วจึงนำแผ่นปูนที่ได้มาหักด้วยมือเพื่อให้เกิดรอยแตกตามต้องการ แล้วจึงตัดลวดที่อยู่ด้านในด้วยมีดอาร์ตไนฟ์ จากนั้นจึงมาตัดแต่งรูปทรงของปูนและลวดให้ได้ตามรูปทรงที่ต้องการอีกที ส่วนชิ้นปูนหรือเศษที่หลุดออกมาในขั้นตอนนี้ก็ติดกลับไปด้วยกาวช้างครับ
ในภาพสุดท้ายเป็นบล็อกหล่อแผ่นปูนที่ทำจากแผ่นพลาสติกครับ ผมทำเอาไว้สองฝั่งสองระดับความหนา เพื่อให้หล่อปูนออกมาได้พร้อมกันทีละสองแผ่น โดยส่วนท้ายที่เปิดเอาไว้จะถูกปิดด้วยแผ่นพลาสติกที่มีขอบความสูงเท่ากับทั้งสองฝั่งด้วยดินน้ำมันแบบชั่วคราว เพื่อที่เวลาหล่อปูนเสร็จและทิ้งไว้จนแห้งแล้ว จะดึงส่วนที่ปิดท้ายออกทำให้แกะแผ่นปูนออกมาจากแบบได้ง่ายและไม่เสียหายครับ
No comments:
Post a Comment