Pages

Thursday, December 6, 2018

Anonimous Bust 1.0 from Banshee

Well, I just realized that I totally forgot to post the photos of this project that was finished from last year. It was painted with Vallejo acrylic and finished within 4 hours.
Sorry for the very delayed post, I'm so forgetful LOL. I'll separate the post into two parts, the bust, and the diorama. Hope you will enjoy it. 

งานบัสชิ้นนี้ทำเสร็จตั้งแต่ปีที่แล้วครับ แต่ผมยังไม่ได้ลงภาพที่เสร็จแล้วเพราะคิดว่าลงไปนานแล้ว พึ่งจะมารู้ตอนที่เข้าไปดูในบล็อกแล้วไม่เห็นงานชิ้นนี้ บางท่านอาจจะได้เห็นงานชิ้นนี้แล้วตอนงานมีตติ้ง เพราะตอนที่กลับไปไทยเมื่อกลางปีติดงานชิ้นนี้ไปด้วย ไว้จะนำภาพเต็มของฉากที่ทำเสร็จมาลงอีกทีครับ 
ส่วนการเพนท์ใช้สีของ Vallejo และเพนท์ตั้งแต่ต้นจนจบภายในเวลา 4 ชั่วโมงครับ งานชิ้นนี้ทำขึ้นเพื่อทดลองการเพนท์สีผิวในแบบที่ผสมเอง และเป็นการเพนท์แบบทิ้งทีแปรง ที่ไม่ได้เน้นเรื่องความเรียบเนียนของสี แต่จะให้ความสำคัญต่อการให้สีและแสงเงามากกว่าครับ









Saturday, November 3, 2018

Zaku Head part 7

After finished painting the scenery, I washed the whole groundwork with Dark Brown Wash from AK  in order to create more contrast and depth. I also applied pin wash on the head to emphasize all of the panels and small details.

This was the first time I tried to do OPR technique (Oil Paint Rendering) on the model with oil paint from Abteilung. I've read about this technique from Michael Rinaldi's books for some time (TankArt & SM) and haven't had a chance to try it until now. I'm very satisfied with the result, it wasn't as difficult as I thought it was going to be. In my opinion, this technique is very useful especially for making faded and dusted area. You can see the effects from this technique in the red circles. 

หลังจากในขั้นที่แล้วได้ทำการทาสีส่วนของฐานจนเสร็จ ผมทำการวอชส่วนที่เป็นซากปรักหักพังทั้งหมดด้วยสี Dark Brown Wash ของ AK เพื่อช่วยเน้นให้รายละเอียดต่างๆนั้นดูมีมิติมากขึ้น ส่วนของหัวก็ทำการวอชแบบเน้นตามร่อง (pin wash) และรายละเอียดต่างๆเพื่อเน้นให้มันดูชัดและเด่นขึ้นมา แล้วจึงทาเก็บรอยถลอกรอยกระเทาะตามขอบมุมต่างๆเพื่อเน้นส่วนของไฮไลท์อีกครั้ง

สำหรับการทำเวทเธอริ่งส่วนของหัว นี่เป็นครั้งแรกที่ผมได้ลองทำเวทเธอริ่งด้วยการเกลี่ยสีน้ำมัน หรือที่เรียกกันว่า OPR technique (Oil Paint Rendering) หลังจากที่มีโอกาสได้เรียนรู้วิธีนี้มาจากหนังสือของ Michael Rinaldi (TankArt & SM) ตั้งแต่ปีที่แล้ว แต่พึ่งจะมีโอกาสได้มาลองจริงกับงานชิ้นนี้ 
ซึ่งเทคนิคนี้จะเป็นการใช้สีน้ำมันมาแต้มลงบนชิ้นงาน แล้วใช้พู่กันทาเกลี่ยให้สีน้ำมันนั้นดูกลมกลืนไปกับบริเวณที่ต้องการ เทคนิคนี้สามารถนำไปใช้ได้หลากหลายวิธี ทั้งการเน้นส่วนของแสงหรือเงาบนชิ้นงาน การเฟดสีให้บริเวณที่ต้องการนั้นดูซีดจางลง หรือการทำคราบฝุ่นคราบสกปรกต่างๆครับ (ในภาพที่สาม ลองสังเกตดูในส่วนที่วงกลมไว้จะใช้เทคนิคนี้ในการทำครับ) ส่วนตัวคิดว่าเป็นอีกหนึ่งเทคนิคที่มีประโยชน์มากทีเดียวในการเวทเธอริ่งส่วนต่างๆ และพอใจมากกับผลลัพท์ที่ได้ แต่ก็ต้องใช้เวลาและความอดทนในการทำพอสมควรครับ





Saturday, October 13, 2018

Zaku Head part 6

A quick update on this project. The painting on the scenery is almost done, just need some touch ups on the wire mesh and trusses.

I used Vallejo Stone Grey as a base color for concrete and mixed it with Brown, Grey, and White to create various shades of shadow and highlight.

ความคืบหน้าเล็กน้อยครับ ตอนนี้ลงสีส่วนของฉากเกือบเสร็จหมดแล้ว เหลือแค่มาเก็บรายละเอียดของเหล็กเส้นและโครงเหล็กให้เรียบร้อย

ส่วนการทำสีผมใช้การทาด้วยพู่กันทั้งหมด เนื่องจากปูนมีคุณสมบัติในการดูดสี จึงทำให้การทาสีนั้นทำได้ง่ายและควบคุมการไล่น้ำหนักอ่อนแก่ของสีได้สะดวก ในภาพจะเห็นว่ามีการทาไล่น้ำหนักแสงเงาเอาไว้และใช้สีเทาอ่อนมาทาตามขอบสันมุมต่างๆเพื่อเน้นให้รอยแตกหักนั้นดูเด่นขึ้นมา ไม่จมไปกับสีพื้น

สำหรับสีที่ใช้ผมใช้ Stone Grey ของ Vallejo เป็นสีพื้นสำหรับสีของคอนกรีต จากนั้นนำไปผสมกับสีน้ำตาลและเทาเฉดต่างๆ และสีขาว เพื่อให้ได้โทนสีที่หลากหลายสำหรับนำไปใช้ในการทาไล่สีส่วนของแสงและเงาครับ





Sunday, September 30, 2018

Zaku Head part 5

Here you can see the final layout of the scene. I posted the photos in two stages, the first four photos were the early stage of filling the space with collapsed floors made from plaster with wire mesh. It was glued to the base and the head with superglue (Cyanoacrylate) and I used CA accelerator to quickly cure the glue. 

All of the cables connected to the head were made from Magic Sculpt, I used Tube Tool from Bees Putty for making the fancy tubes. This tool is very handy and pretty easy to use, I highly recommend it. Check out the video for how to use this tool. 

https://www.youtube.com/watch?v=6We-0KI9FlQ

The last three photos are the finished layout. The empty space from the previous step was fully filled with debris, collapsed floors and cables. I also added some styrene trusses from Plastruct in order to make the ruined look a bit more interesting from different materials. As you can see, some of the cables were replaced with the cables made from Green Stuff because they are more flexible and won't be easy to break off. 
Now the scene is ready to be painted and weathered. I'll post more update soon.

ภาพของฉากที่เสร็จสมบูรณ์ครับ ภาพที่ลงเอาไว้ในโพสนี้แบ่งเป็นสองช่วงคือ สี่ภาพแรกเป็นช่วงที่กำลังนำแผ่นปูนมาติดลงด้านใต้ของส่วนหัวเพื่อจำลองลักษณะของพื้นอาคารที่ถล่มลงมา โดยใช้การติดด้วยกาวซูเปอร์กลู (Cyanoacrylate) และใช้สเปรย์ CA accelerator ซึ่งเป็นน้ำยาที่ช่วยเร่งให้กาวนั้นแห้งเร็วขึ้น เพื่อที่จะได้ช่วยให้การติดชิ้นส่วนที่เป็นปูนนั้นทำได้สะดวกมากขึ้น 

หลังจากที่ติดปูนไปสองแผ่นเพื่อกำหนดทิศทางของพื้นอาคารที่ถล่ม ผมพักส่วนของการติดปูนเพื่อไปทำสายไฟสายเคเบิลต่างๆที่โยงออกมาจากด้านใต้ของส่วนหัว เนื่องจากถ้าติดแผ่นปูนจนเต็มทั้งหมดจะทำให้การทำงานส่วนนี้ลำบากมากขึ้น จึงต้องทำให้เสร็จเสียก่อน ส่วนสายไฟสายเคเบิลต่างๆที่เห็นใช้การปั้นด้วย Magic Sculpt ส่วนสายเคเบิลแบบที่บากเป็นร่องใช้เครื่องมือปั้น Tube Tool ของ Bees Putty ในการทำครับ เป็นเครื่องมือที่สะดวกและใช้งานง่ายมาก ลองเข้าไปดูวีดีโอการใช้งานได้ตามลิ้งครับ

https://www.youtube.com/watch?v=6We-0KI9FlQ

สำหรับสามภาพที่เหลือจะเป็นภาพของฉากโดยรวมที่เสร็จสมบูรณ์แล้วครับ ส่วนที่เคยเป็นที่ว่างตอนนี้กลายเป็นซากปรักหักพังที่ทับถมกันอยู่ใต้หัวหุ่น รวมถึงสายเคเบิลสายไฟต่างๆที่ห้อยอยู่ ผมทำการเพิ่มโครงอาคารเหล็ก (เป็นพลาสติกของ Plastruct) แทรกเข้าไปในซากตรงด้านขวาของฉาก เพื่อให้มีความหลากหลายของวัสดุและทำให้ฉากดูน่าสนใจมากขึ้น
ในภาพจะเห็นว่าสายเคเบิลบางส่วนก่อนหน้านี้ถูกเปลี่ยนเป็นสายเคเบิลสีเขียวที่ทำจาก Green Stuff เนื่องจาก Magic Sculpt นั้นเมื่อแห้งแล้วจะแข็งและทำให้แตกหักได้ง่าย ต่างจาก Green Stuff ที่จะมีความยืดหยุ่นมากกว่า จึงเปลี่ยนมาใช้ในส่วนที่เป็นสายไฟเล็กๆและเสี่ยงต่อการแตกหักครับ

ตอนนี้ตัวฉากก็เสร็จสมบูรณ์และพร้อมสำหรับการทำสีแล้ว ซึ่งผมคงจะใช้การทาสีเป็นหลัก เพราะสามารถทำได้ง่ายบนปูนพลาสเตอร์ และเมื่อทาสีเก็บรายละเอียดทั้งหมดแล้วจึงค่อยมาทำเวทเธอริ่งทุกๆส่วนไปพร้อมกันอีกที ซึ่งจะช่วยให้การคุมโทนของสีในฉากและส่วนหัวนั้นทำได้สะดวก แล้วจะนำความคืบหน้ามาลงอีกที แล้วพบกันใหม่ครับ








Friday, September 28, 2018

Zaku Head part 4

I decided to make the groundwork for this scene before continuing on weathering the head because there will be more details to add onto the head, and it will be more easy to do that after placing the head in the position I have planned. 

The concept of this scene is about the Zaku head that somehow fell onto the building and made it collapse. I started by filling the base with small pieces of plaster plate and debris, then glued the head in the desired position. The space on the right side and underneath the head will be filled in later with collapsed floors and debris that made from plaster.

As you can see, I already made some collapsed floors by casting a plaster plate and put a small wire mesh inside. When it completely dried, I broke the plaster plate with my hands, cut the mesh with art knife, and used CA glue for the loosed pieces.

หลังจากที่ทำสีส่วนหัวเสร็จแล้ว ก่อนที่จะเริ่มทำการเวทเธอริ่งในขั้นตอนต่อไป ผมเลือกที่จะทำส่วนของฐานสำหรับงานชิ้นนี้ก่อน เนื่องจากจะต้องใส่รายละเอียดเพิ่มเติมลงบนส่วนหัวเช่นพวกสายไฟต่างๆ ซึ่งมันจะทำได้ดีกว่าหากติดตั้งส่วนหัวลงบนฐานในตำแหน่งที่คิดไว้แล้วครับ

สำหรับแนวคิดในการทำงานชิ้นนี้จะเป็นเรื่องราวของหัวหุ่นซาคุที่หลุดออกมาจากตัวหุ่นและหล่นทับลงบนอาคารทำให้อาคารนั้นถล่มจากแรงกระแทกครับ ซึ่งการทำฉากนี้ก็จะเริ่มจากการทำส่วนพื้นด้วยปูนพลาสเตอร์ โดยการทำบล็อกหล่อแบบขึ้นมาเป็นแผ่นปูนผิวเรียบ แล้วนำมาทุบให้แตกออกเป็นชิ้นติดลงไปบนฐาน นำแผ่นปูนบางส่วนมาทุบให้เป็นชิ้นเล็กๆนำมาติดให้ครอบคลุมส่วนพื้นทั้งหมด จากนั้นจึงนำส่วนหัวซาคุมาติดตามแบบที่คิดไว้ ในขั้นตอนนี้อาจจะต้องใช้จินตนาการมากสักหน่อย เพราะเป็นการจัดวางตามแบบที่มีอยู่ในหัว อย่างที่เห็นในภาพพื้นที่ว่างด้านขวาของหัวและพื้นที่ว่างด้านใต้ของหัวจะถูกเติมให้เต็มในภายหลังด้วยซากอาคารที่ถล่มลงมาครับ

ส่วนตัวเวลาจะทำฉากใดๆก็จะคิดและจินตนาการรูปแบบที่ต้องการจะทำรวมถึงวิธีการในการที่จะทำเอาไว้ให้สมบูรณ์ในระดับหนึ่ง เช่นภาพรวมทั้งหมดว่าต้องการจัดวางทิศทางหรือองค์ประกอบแบบไหน (แต่ไม่รวมถึงส่วนของรายละเอียดปลีกย่อยที่ค่อยมาเพิ่มเติมทีหลังได้) พอถึงเวลาลงมือทำจะได้ไม่ติดขัดและทำไปเรื่อยๆจนได้ตามแบบที่คิดเอาไว้ครับ สำหรับคนที่ยังมีประสบการณ์ในการทำงานประเภทนี้ไม่มากนัก แนะนำว่าให้ลองนำตัวโมเดลที่จะทำมาลองจัดวางดูเป็น mock up model ก่อนที่จะลงมือทำจริง โดยอาจจะใช้กระดาษหรือโฟมมาแทนส่วนประกอบอื่นๆเช่นอาคาร ต้นไม้ ภูเขา เป็นต้น เพื่อจะได้ดูการจัดองค์ประกอบ ขนาดพื้นที่และทิศทางการจัดวางต่างๆก่อนที่จะลงมือทำจริง แล้วถ่ายภาพเก็บไว้เป็นตัวอย่าง หรือถ้ามีฝีมือทางการวาดรูปจะใช้การสเก็ตช์ภาพเป็นแบบไว้ก็ได้ครับ ซึ่งการทดลองทำดูก่อนแบบนี้จะช่วยได้มาก โดยเฉพาะฉากที่มีขนาดใหญ่ ทำให้เราเห็นฉากที่เราต้องการจะทำได้ชัดเจน มีทิศทางในการทำงานที่แน่นอนครับ

ในภาพที่สองจะเห็นแผ่นปูนพลาสเตอร์ที่ผมทำเอาไว้ เป็นส่วนของพื้นอาคารที่ถล่มลงมา และจะนำมาติดในขั้นตอนต่อไป ส่วนวิธีการทำ ผมใช้การหล่อแผ่นปูนจากบล็อกหล่อแบบที่ทำจากแผ่นพลาสติก เพื่อให้ได้แผ่นปูนที่มีผิวเรียบ โดยในช่วงที่เทปูนลงในบล็อกไปแล้วส่วนหนึ่ง ผมนำมุ้งลวดมาใส่ลงไปด้านในแล้วเทปูนทับจนเต็มบล็อก ใช้ไม้บรรทัดเหล็กมาปาดตรงขอบกั้นเพื่อให้ได้หน้าปูนที่เรียบเสมอกัน เมื่อทิ้งไว้จนแห้งสนิทแล้วจึงนำแผ่นปูนที่ได้มาหักด้วยมือเพื่อให้เกิดรอยแตกตามต้องการ แล้วจึงตัดลวดที่อยู่ด้านในด้วยมีดอาร์ตไนฟ์ จากนั้นจึงมาตัดแต่งรูปทรงของปูนและลวดให้ได้ตามรูปทรงที่ต้องการอีกที ส่วนชิ้นปูนหรือเศษที่หลุดออกมาในขั้นตอนนี้ก็ติดกลับไปด้วยกาวช้างครับ

ในภาพสุดท้ายเป็นบล็อกหล่อแผ่นปูนที่ทำจากแผ่นพลาสติกครับ ผมทำเอาไว้สองฝั่งสองระดับความหนา เพื่อให้หล่อปูนออกมาได้พร้อมกันทีละสองแผ่น โดยส่วนท้ายที่เปิดเอาไว้จะถูกปิดด้วยแผ่นพลาสติกที่มีขอบความสูงเท่ากับทั้งสองฝั่งด้วยดินน้ำมันแบบชั่วคราว เพื่อที่เวลาหล่อปูนเสร็จและทิ้งไว้จนแห้งแล้ว จะดึงส่วนที่ปิดท้ายออกทำให้แกะแผ่นปูนออกมาจากแบบได้ง่ายและไม่เสียหายครับ




Friday, September 21, 2018

Zaku Head part 3

The second base color is already applied over the Red oxide primer. I used Green (Resedagrun RAL 6011) from Mission Models as the base color then mixed with other colors for shadow and highlight.

After the paint is already dried, I then scuff the surface with a flat brush and water and use a toothpick to scrape the surface here and there in order to create chips, scratches and wear areas on the surface (hairspray technique).

The AK's Worn Effects from the previous step is helped to protect the Red oxide primer from being peeled off, also made the Green more easy to be created wear and tear.

สีที่ใช้ในการพ่นครั้งนี้ผมใช้สีอะครีลิคของ Mission Models สี Resedagrun RAL 6011เป็นสีเขียวสำหรับรถถังเยอรมันครับ โดยผมพ่นทับส่วนของสีพื้นแดงทั้งหมด แล้วนำสีเขียวไปผสมกับสีอื่นๆเพื่อนำมาพ่นไล่แสงและเงาของสีเขียวอีกทีครับ

ซึ่งแนวทางในการทำสีของงานชิ้นนี้ก็จะทำตามแนวทางของการทำสีรถถังเยอรมันในยุคสงครามโลกครั้งที่สองเลย คือพ่นด้วยสีแดงกันสนิมก่อนแล้วพ่นทับด้วยสีเขียว (คู่สีแดงเขียวที่ตัดกันยังช่วยทำให้งานดูน่าสนใจมากขึ้นด้วย) จากนั้นจึงค่อยนำไปทำร่องรอยต่างๆเพื่อจำลองสภาพของการผ่านการใช้งาน

ส่วนการทำร่องรอยต่างๆ เนื่องจากในขั้นตอนก่อนหน้าได้พ่นเคลือบสีแดงไว้ด้วย Worn Effects ของ AK (แบบเดียวกับ hairspray technique) ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้สีแดงนั้นหลุดลอกออกเมื่อทำเทคนิคนี้ เมื่อสีเขียวแห้งสนิทแล้วจึงใช้พู่กันแบนจุ่มน้ำเปล่าทาลงบนสีเขียวทีละส่วนเล็กๆ แล้วใช้พู่กันถูไปมาตามขอบมุมต่างๆหรือพื้นผิวส่วนอื่นๆแบบเบาๆ จนสีเขียวเริ่มหลุดออก ส่วนรอยขูดขีดยาวๆก็ใช้การขูดด้วยไม้จิ้มฟัน ทำสลับไปมาจนสีเขียวตามส่วนต่างๆหลุดลอกออกจนเห็นพื้นสีแดง แล้วจึงไล่ทำแบบนี้ไปตามส่วนอื่นๆทั่วทั้งชิ้นงานจนกว่าจะพอใจครับ

ในรูปที่ลงไว้จะเห็นส่วนของสีเขียวที่หลุดลอกออกจนเห็นสีพื้นแดง รวมถึงส่วนของสีเขียวเข้มที่เกิดจากส่วนของสีเขียวอ่อนที่ทับอยู่นั้นหลุดลอก ซึ่งเป็นผลจากการทำเทคนิคแฮร์สเปรย์ที่ได้อธิบายไป ส่วนสีน้ำตาลเข้มตามขอบมุมต่างๆนั้นเป็นการแต้มสีด้วยพู่กันในภายหลังเพื่อจำลองส่วนที่ขึ้นสนิมครับ

เมื่อเสร็จขั้นตอนของการพ่นสีและเตรียมพื้นผิวที่มีร่องรอยของสีถลอกและหลุดร่อนแล้ว หลังจากนี้จะเป็นการเพนท์เก็บรายละเอียดด้วยพู่กันและทำเวทเธอริ่งเพิ่มเติมด้วยสีเอนาเมลและสีน้ำมันเพื่อจำลองคราบสกปรกและคราบฝุ่นดินต่างๆอีกทีครับ



Saturday, September 15, 2018

Zaku Head part 2

After applied Red Oxide Primer from Mission Models as the first base color, I then airbrushed the whole head with Worn Effects from AK a couple of times in order to prepare the surface for the next step.

หลังจากที่เตรียมโมเดลพร้อมสำหรับทำสีแล้ว ผมนำไปพ่นรองพื้นก่อนด้วยสีสเปรย์สีดำของ Citadel จากนั้นจึงค่อยพ่นสีพื้นชั้นแรกด้วยสี Red Oxide Primer ของ Mission Models แล้วก็นำสีนี้มาผสมกับสีอื่นเพื่อพ่นไล่น้ำหนักอีกที จากนั้นจึงใช้น้ำยา Worn Effects ของ AK มาพ่นคลุมให้ทั่วทั้งชิ้นงานประมาณ 2-3 รอบ จนพื้นผิวออกมาเงาแบบที่เห็น เป็นการเตรียมพื้นผิวไว้สำหรับการทำเทคนิครอยถลอกแบบ hair spray technique ในขั้นตอนต่อไปครับ



Friday, September 14, 2018

The Illustrated Fantasy Artist Newsletter

The Illustrated Fantasy Artist is a new online magazine about fantasy painting and it will be released in October. You can get a 50% discount for the first issue if you sign up now to The Illustrated Fantasy Artist mailing list. 
If you're interested, please check out the link below.

https://figurementors.us16.list-manage.com/subscribe?u=ba390a6b16eab9576bfc9fb4a&id=9143ef2717

The Illustrated Fantasy Artist เป็นออนไลน์แมกกาซีนฉบับใหม่ที่เกี่ยวกับการเพนท์มิเนียเจอร์แนวแฟนตาซีโดยเฉพาะ โดยฉบับแรกกำลังจะออกในเดือนตุลาคมนี้ครับ ซึ่งถ้าเราเข้าไปลงทะเบียนขอรับจดหมายความเคลื่อนไหวต่างๆจากทางหนังสือ ก็จะได้รับคูปองส่วนลด 50% ของราคาหนังสือฉบับแรกเมื่อหนังสือออก รวมถึงจะได้ส่วนลดสำหนังสือฉบับต่อๆไปด้วยครับ
ถ้าสนใจสามารถคลิ๊กเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ตามลิ้งเลยครับ


Tuesday, September 11, 2018

Zaku Head part 1

Hello everyone, it's been a long time since my last post here. Finally, I have a new project on my workbench to show you. This is a gashapon Zaku head I got from my last trip in Osaka. The details of this head are so great and It's pretty cheap when you compare to the size, design and details, I wish I could buy a couple more.

I got an idea to use it on my new project, you can see I already added some details to make it look more interesting. I'll post more update soon, stay tuned!

วันนี้มีความคืบหน้าของงานล่าสุดที่กำลังทำมาฝากครับ เป็นของเล่นกาชาปองชุดหัวหุ่นยนต์ซาคุหรือแซ็ค ที่ไปได้มาจากตู้หมุนตอนแวะเที่ยวที่โอซาก้า เป็นชุดพลาสติกสำเร็จรูปที่ออกแบบมาได้ดีมากๆ เรื่องขนาดผมไม่แน่ใจแต่ดูแล้วจะเล็กกว่า 1/35 พอสมควร อาจจะประมาณสัก 1/48 ส่วนรายละเอียดต่างๆนั้นทำออกมาได้ดีเยี่ยมสวยงามมากครับ ถ้าเทียบกับราคาแล้วถือว่าถูกมาก (โดยเฉพาะถ้าซื้อที่ญี่ปุ่น) เสียดายจริงๆที่หยอดมาแค่อันเดียว

ตอนเอามานั่งประกอบดูแล้วรู้สึกชอบในดีไซน์และรายละเอียดต่างๆมาก เลยได้ไอเดียเอามาทำเป็นงานชิ้นใหม่ครับ ที่เห็นในภาพคือมีการดัดแปลงตกแต่งรายละเอียดเพิ่มเติมในบางส่วนเพื่อให้มีเรื่องราวและดูน่าสนใจมากขึ้น แล้วจะนำความคืบหน้ามาลงให้ชมกันเรื่อยๆครับ ส่วนงานเก่าๆ (ที่ยังทำไม่เสร็จเลย แต่ดันขึ้นงานใหม่อีกแล้ว ฮ่าๆ) ก็คงจะนำมาความคืบหน้ามาให้ชมเร็วๆนี้เช่นกันครับ



Saturday, January 20, 2018

Bad Santa

Enigma Miniatures 32mm metal figure
Sculpted by Raul Garcia Latorre

I finished this project a few days before last Christmas. I painted this mini as a gift for a good friend, it was a fun and relaxing project. 

This is "Bad Santa" from Enigma Miniatures, beautifully sculpted by Raul Garcia Latorre in 32mm (metal). I really like the concept of this mini so I tried to make a little scene to tell a story. The gift boxes are from Ristul's, very nice details and easy to work with. I got it from eBay and if you are interested, check out on their website below.

https://www.ristulsmarket.com/

งานล่าสุดที่ทำเสร็จตอนช่วงปลายปีที่ผ่านมาครับ เป็นงานที่เพนท์เพื่อเป็นของขวัญให้กับเพื่อนท่านหนึ่ง ผมใช้เวลาในการทำงานชิ้นนี้ไม่นานนัก (น่าจะประมาณหนึ่งอาทิตย์) ถือว่าเป็นอีกหนึ่งงานที่ทำเสร็จเร็วพอสมควร และยังเป็นงานที่เพนท์สนุกและผ่อนคลายดีครับ 

งานชิ้นนี้ชื่อ Bad Santa ของยี่ห้อ Enigma Miniatures ครับ ปั้นโดย Raul Garcia Latorre (เป็นอีกหนึ่งนักปั้นที่ผมชอบงานเค้ามาก) ในขนาด 32mm และผลิตออกมาเป็นโลหะครับ
ส่วนตัวชอบงานปั้นชิ้นนี้มากทั้งเรื่องของคอนเซ็ปต์และรายละเอียดของตัวมินิ เลยตั้งใจทำฉากเล็กๆขึ้นมาเพื่อช่วยสร้างเรื่องราวให้ดูเข้ากับตัวมินิครับ
ส่วนกล่องของขวัญที่เห็น เป็นชุดเรซิ่นของ Ristul's ซึ่งมีรายละเอียดดีและตัดแต่งได้ง่ายมาก ผมได้มาจาก eBay ถ้าสนใจก็ลองเข้าไปดูได้ในเว็บไซต์ที่ลงไว้ด้านบนครับ













Sunday, January 14, 2018

Great Unclean One (part 1)

Here is a bit progress on Great Unclean One. I've already finished painting all the base colors for the whole piece and applied some basic shadows and highlights by using an airbrush. It was the first time I used the airbrush for painting miniatures, I usually use it for painting AFV models or apply clear coat on the finished miniatures or figures. 

In my opinion. using the airbrush for painting miniatures is quite different from using it for painting AFV models. Miniatures need more shadow and highlight than AFV models, in order to make all the details stand out and look more interesting so it requires many layers of colors to build up the contrast between light and shadow. 

It took me several hours to finish the painting, and I still have to learn a lot more about controlling and making precise lines with the airbrush. However, airbrush is a handy tool and helpful if you want to finish the project a lot faster especially for a huge miniature like this one. Maybe in the future, if I have a lot more experiences in using the airbrush, I'll probably finish all the shadow and highlight and only do the final touches with a paintbrush. 

After this, it's going to be painted only with the paintbrush. I already have the image of the finished mini in my mind and it will look a lot different from this stage. It still a long way to go and I'll post more progress soon.

ความคืบหน้าเล็กน้อยของ Great Unclean One ครับ เนื่องจากขนาดชิ้นงานที่ใหญ่มาก ในครั้งนี้เลยได้ลองใช้แอร์บรัชในการพ่นสีงานมิเนียเจอร์ดูบ้างครับ ปกติแล้วผมจะใช้แอร์บรัชในการพ่นสีงานพลาสติกโมเดลประเภทรถถังเป็นหลัก ส่วนงานมิเนียเจอร์จะใช้แอร์บรัชเฉพาะในการพ่นสีเคลียร์สำหรับเคลือบผิวงานตอนจบงานเท่านั้น เพราะงานมิเนียเจอร์ส่วนมากจะมีขนาดเล็กจึงสามารถใช้การเพนท์ด้วยพู่กันเพียงอย่างเดียวได้สะดวก แต่กับงานที่มีขนาดใหญ่มากอย่างงานชิ้นนี้ การใช้แอร์บรัชช่วยในการพ่นสีส่วนต่างๆ ก็จะช่วยประหยัดเวลาในการทำงานไปได้มากเลยครับ

สำหรับสีที่ผมใช้ในการพ่นเป็นสี Vallejo Model Air กับ Vallejo Game Air ครับ และนำมาพ่นส่วนของสีพื้นทั้งหมดบนชิ้นงาน รวมถึงพ่นสีจำลองแสงและเงาเบื้องต้น ก่อนที่จะนำไปเพนท์เก็บรายละเอียดต่อในภายหลังครับ 

ผมใช้เวลาในการพ่นสีทั้งหมดประมาณ 3 ชั่วโมง ซึ่งส่วนตัวแล้วคิดว่าการพ่นสีงานมิเนียเจอร์กับงานรถถังมันแตกต่างกันพอสมควร เพราะงานมิเนียเจอร์จะต้องการความชัดเจนของแสงและเงามากกว่า เพื่อเน้นรายละเอียดต่างๆบนชิ้นงานและทำให้มันดูน่าสนใจมากขึ้น ดังนั้นการพ่นสีงานประเภทนี้จึงต้องพ่นสีหลายรอบเพื่อไล่ระดับสีจากอ่อนไปแก่ และสร้างความคมชัดระหว่างส่วนของแสงและเงา และการพ่นสีงานประเภทนี้จะใช้การพ่นแบบฟรีแฮนด์เป็นหลัก จึงต้องอาศัยความชำนาญในการใช้แอร์บรัชพอสมควร ซึ่งตัวผมเองก็ยังทำได้ไม่ดีนักและคงจะต้องฝึกเรื่องของการควบคุมการพ่นอีกมากพอสมควร โดยเฉพาะเรื่องของการพ่นรีดเส้นครับ

อย่างไรก็ดี การใช้แอร์บรัชในการพ่นสีมิเนียเจอร์ก็ช่วยให้การทำงานนั้นสะดวกและทำงานได้รวดเร็วมากขึ้น โดยเฉพาะกับงานขนาดใหญ่แบบนี้ และถ้าหากฝึกฝนจนชินกับการใช้สีอะครีลิคในการพ่นสี รวมถึงสามารถควบคุมการใช้แอร์บรัชได้เป็นอย่างดีแล้ว ก็คงช่วยลดขั้นตอนในการทำงานลงไปได้มาก อาจจะใช้พู่กันเพียงแค่การเพนท์เก็บรายละเอียดก่อนจบงานเท่านั้น รวมถึงคงจะนำไปใช้ในการพ่นสีบนชิ้นงานที่เล็กกว่านี้ได้สะดวกมากขึ้นด้วยครับ

หลังจากนี้แล้วผมก็คงจะมานั่งเพนท์สีเก็บรายละเอียดต่างๆด้วยพู่กันอีกที ส่วนตัวมีภาพที่คิดเอาไว้ในหัวอยู่แล้วว่าอยากจะให้งานนั้นออกมาในรูปแบบไหน ซึ่งถ้าเสร็จแล้วคงจะดูแตกต่างจากภาพในขั้นตอนนี้พอสมควร และตอนนี้ก็ยังเหลือรายละเอียดอีกมากที่ยังต้องทำ หลังจากนี้คงจะทยอยนำความคืบหน้ามาให้ชมกันเรื่อยๆครับ