PPSh-41 submachine gun was a reason I bought this kit. Because it has just a few busts that comes with a full gun and it makes the bust look more attractive, in my opinion. I also like the design of this gun and it looks really great when hung on the bust.
In this last part, I would like to show you a step-by-step tutorial on how to paint a wooden gunstock. It was my first time to paint a gun in this big scale, so I started with searching for the PPSh-41 images on the internet. In order to see the material, color, wood grain on the real gun and used it as a reference, so it would be easy to paint rather than painted from your imagination. However, each gunstock has differences in color and wood grain so I chose the reference that not too difficult to paint.
ปืนกลแบบ PPSh-41 เป็นเหตุผลที่ทำให้ผมเลือกซื้อบัสกล่องนี้ เพราะว่ามันมีโมเดลบัสเพียงไม่กี่แบบในท้องตลาด ที่ปั้นมาพร้อมกับปืนแบบเต็มกระบอก ซึ่งส่วนตัวแล้วผมรู้สึกว่าการที่มีปืนมาให้ด้วยแบบนี้มันทำให้ตัวบัสนั้นดูน่าสนใจขึ้นมากครับ อีกอย่างคือผมชอบในการออกแบบของปืนรุ่นนี้ที่ดูเป็นเอกลักษณ์ดี โดยเฉพาะรูระบายความร้อนที่ลำกล้อง และมันยังดูสวยและเข้ากับตัวบัสมากเมื่อนำไปแขวนไว้ครับ
ในครั้งนี้จะเป็นตอนสุดท้ายของโครงการนี้ครับ ดังนั้นผมเลยนำวิธีการเพนท์ลายไม้บนพานท้ายปืนมาฝากกัน ซึ่งนี่เป็นครั้งแรกที่ผมได้ลองเพนท์ปืนในสเกลใหญ่ ดังนั้นจึงต้องหาภาพอ้างอิงหลายๆมุมมาจากอินเทอร์เน็ต เพื่อที่จะได้เห็นถึงสีของวัสดุและลักษณะของลายไม้บนปืนจริงว่าเป็นอย่างไร และใช้เป็นต้นแบบเวลานำไปวาดลงบนโมเดล เพื่อให้การทำงานนั้นง่ายขึ้น เนื่องจากปืนของจริงแต่ละกระบอกนั้นจะมีสีสรรและลักษณะของลายไม้ที่แตกต่างกัน ดังนั้นผมจึงเลือกหาภาพลายไม้แบบที่ดูไม่ซับซ้อนเกินไป และง่ายต่อการนำไปเพนท์ครับ
1. I started with a black primer from Citadel (Chaos Black), then applied a base color on a gunstock with Flat Brown (VMC 70984)
1. ผมเริ่มด้วยการพ่นรองพื้นปืนด้วยสีดำของ Citadel สี Chaos Black ครับ จากนั้นทาสีพื้นของพานท้ายด้วยสี Flat Brown (VMC 70984)
2. I then mixed the base color with Orange Brown (VMC 70981) and applied it as a faded spot on the gunstock.
2. ขั้นต่อมาผสมสี Orange Brown (VMC 70981) กับสีพื้น และทาลงบนพานท้ายปืนในบริเวณที่กำหนดให้เป็นส่วนที่สีไม้ของพานท้ายนั้นซีดจางลง
3. I added more Orange Brown in the previous mixture for a brighter shade and blended it on the faded spots.
3. จากนั้นผสมสี Orange Brown เพิ่มเข้าไปในสีเดิมให้สีนั้นสว่างขึ้น แล้วทาเกลี่ยไล่แสงเงาบนพื้นที่สีซีดอีกครั้ง จะเห็นว่าสีนั้นไล่จากสว่างทางด้านหน้าของจุดที่สีซีด ไปยังสีเข้มทางด้านหลังของพานท้ายปืน
4. This gun has already sculpted wood grain on the gunstock, so I used it as a guidance for the direction of the wood grain and used an image of the real gun as a reference for the pattern. I drew the wood grain on the gunstock with German Camo. Black Brown (VMC 70822) mixed with a bit of Flat Brown.
4. พื้นผิวของพานท้ายปืนกระบอกนี้นั้นปั้นมาให้เป็นลายไม้อยู่แล้ว ดังนั้นผมจึงยึดการเพนท์ลายไม้ไปตามแนวของพื้นผิวที่ได้ปั้นไว้ และใช้ภาพอ้างอิงช่วยในการดูรูปแบบลักษณะของลายไม้ ผมใช้สี German Camo. Black Brown (VMC 70822) ผสมกับสี Flat Brown เล็กน้อยในการวาดลายไม้
5. In previous step, I drew the lines as a quick sketch in order to see the overall pattern of the wood grain, so it has some mistakes and too thick in some lines. I then removed the excess and thinned each lines with the colors from previous steps and made it look sharp and clean.
5. ในขั้นที่แล้วนั้นการวาดลายไม้จะเป็นการวาดแบบหยาบๆ เพื่อให้เห็นภาพรวมของลายทั้งหมด ดังนั้นจึงมีส่วนของเส้นที่ไม่เรียบร้อย ทั้งส่วนเกินหรือเส้นที่หนาเกินไป ผมจึงใช้สีพื้นของไม้จากขั้นตอนก่อนหน้านี้ มาทาลบในส่วนเกินและทาเก็บให้เส้นนั้นเล็กลงอีกรอบหนึ่ง
6. In order to harmonize the colors on the gunstock, I used Orange Brown mixed with a bit of Flat Brown and glazed a few times on the faded spots.
6. หลังจากที่ทาเก็บเส้นเรียบร้อยแล้ว เพื่อให้สีเข้มของเส้นและสีอ่อนของพื้นไม้นั้นดูกลมกลืนกันมากขึ้น ผมใช้การทาย้อมสีแบบที่เรียกกันว่า เกลซซิ่ง Glazing Technique ซึ่งวิธีแบบเกลซนี้วิธีการทำจะคล้ายๆกับการวอชสี แต่ต่างกันตรงการวอชสีนั้นเพื่อที่จะเน้นรายละเอียดบนผิวงาน แต่การเกลซนั้นจะใช้เพื่อย้อมสีบนผิวงาน
อย่างในกรณีที่ทำมาให้ดูนี้ จะเห็นว่าสีเข้มของลายไม้จะดูตัดกับสีในบริเวณที่ซีดลงชัดเจน ผมจึงทำให้สีทั้งสองนี้ดูกลืนกันมากขึ้นโดยการเกลซทับในบริเวณนี้ด้วยสี Orange Brown ผสมกับ Flat Brown เล็กน้อย และผสมน้ำพอสมควรเพื่อให้สีนั้นค่อนข้างใส และทาทับไปบางๆทีละรอบๆ สีที่ทาทับไปนี้จะไปเคลือบบางๆอยู่บนสีทั้งสองจนย้อมให้สีนั้นดูเปลี่ยนไปเล็กน้อย ซึ่งจะเห็นว่าสีเข้มของลายไม้นั้นจะถูกย้อมให้สีนั้นจางลงและดูกลืนเข้ากับสีของพื้นไม้มากขึ้นครับ
7. I then used Flat Brown mixed with Cavalry Brown (VMC 70982) and glazed on the rest of the gunstock, especially on the grip area and lower area of the stock.
7. การเกลซนั้นทำได้ทั้งสีโทนอ่อนหรือเข้มครับ จากขั้นตอนที่แล้วที่ได้ย้อมในส่วนสว่างไป ในขั้นตอนนี้ก็ย้อมในส่วนของสีเข้มโดยการใช้สี Flat Brown ผสมกับ Cavalry Brown (VMC 70982) จากนั้นผสมน้ำให้สีค่อนข้างใสแล้วทาย้อมในส่วนอื่นๆของพานท้าย โดยเน้นในส่วนของบริเวณที่มือจับและด้านล่างของพานท้ายให้สองส่วนนี้นั้นดูเข้มมากขึ้นครับ
8. After glazed several times on the gunstock, the color on the gunstock has changed into more reddish brown and the dark brown lines are not look stand out as it was before. I then painted the edge of the gunstock with Orange Brown mixed with a bit of Flat Brown.
8. หลังจากที่ทาแบบเกลซเพื่อย้อมสีเสร็จแล้ว จะเห็นว่าสีของลายไม้ที่ตอนแรกดูเข้มนั้น ตอนนี้จะดูกลืนเข้ากับสีของส่วนต่างๆมากขึ้น รวมถึงสีบริเวณที่มือจับและด้านล่างของพานท้ายจะดูเป็นสีน้ำตาลอมแดงมากขึ้นกว่าเดิมครับ จากนั้นผมทาเก็บสีขอบของไม้ที่ติดกับส่วนเหล็กอีกครั้งด้วยสี Orange Brown ผสมกับ Flat Brown
9. 1/10 scale gun is big enough to show the details on the wood, I used Orange Brown mixed with a bit of Flat Brown and painted it as small patches and dots on the faded area. I then painted the small patches and dots on nearby areas but used the colors from step 2 and 3, in order to create a gradient of the painted detail colors from light to dark on the faded area to the reddish brown area.
This method is like to create wear and tear on the varnish, not to create the texture of the wood.
9. ปืนในขนาด 1/10 นั้นใหญ่พอที่จะเห็นถึงรายละเอียดต่างๆได้ชัดเจนครับ ดังนั้นผมจึงเพิ่มรายละเอียดบนส่วนของพื้นผิวไม้โดยใช้สี Orange Brown ผสมกับ Flat Brown นิดเดียว และทาแบบแต้มเป็นจุดหรือรอยเล็กๆบนส่วนของสีที่ซีดลง เพื่อเน้นให้สีในบริเวณนี้นั้นมีความหลากหลายมากขึ้น จากนั้นใช้การทาแบบแต้มเป็นจุดหรือรอยเล็กๆในส่วนอื่นๆที่เหลือ แต่เปลี่ยนไปใช้สีที่เข้มกว่าที่ใช้ทาในขั้นตอนที่ 2 และ 3 ครับ เพื่อที่จะทาให้สีของรอยแต้มเล็กๆนี้นั้นไล่ระดับสีจากอ่อนไปเข้มในส่วนของสีไม้ที่ซีดไปยังส่วนของสีไม้ที่เข้มครับ ในการทำสีขั้นตอนนี้นั้น จะเหมือนกับการทำให้สีที่เคลือบผิวไม้เอาไว้ ดูเหมือนผ่านสภาพการใช้งานมาจนมีการสึกหรอและซีดจาง มากกว่าที่จะเป็นการเพนท์เพื่อเลียนแบบเนื้อไม้ครับ
10. I added stains and scratches on the gunstock with German Camo. Black Brown.
10. จากนั้นผมเพิ่มรอยคราบสกปรกและรอยขีดข่วนบนผิวไม้ด้วยสี German Camo. Black Brown
11. I coated the gunstock with Satin Varnish (VMC 70522) for a satin finish.
11. ต่อด้วยการทาเคลือบผิวของส่วนที่เป็นไม้ด้วยสี Satin Varnish (VMC 70522) เพื่อให้ได้ลักษณะของผิวไม้แบบกึ่งมันกึ่งด้านครับ
12. A finished pic of the wooden gunstock.
12. เมื่อสีเคลือบนั้นแห้งแล้ว ผิวไม้จะดูเงาขึ้นเล็กน้อยครับ
13. For painting the rest of the gun (metallic area), I used the Silver Paint Set from Andrea Color. This set comes with three metallic paints and three inks for wash or shading metallic.
13. สำหรับการเพนท์ส่วนของเหล็กนั้น ผมใช้สีอะคริลิคของยี่ห้อ Andrea Miniatures เป็นสีชุดสำหรับเพนท์โลหะชื่อ Silver Paint Set ซึ่งในสีชุดนี้จะมีมาให้ทั้งหมด 6 ขวด เป็นสีเมทัลลิคสามขวด และสีหมึกสำหรับใช้ในการย้อมสีหรือไล่สีอีกสามขวด
14. I applied the base color with Shadow Lead mixed with Black Ink. Andrea metallic paints was very shiny when reflected with the light, but it looks too bright and does not suit with the metallic color of the real gun.
14. ผมเลือกใช้สี Shadow Lead ผสมกับสีหมึกสีดำ เป็นสีพื้นของปืน สีเมทัลลิคของแอนเดรียนั้นค่อนข้างจะมันวาวมากเมื่อสะท้อนกับแสงครับ การผสมกับสีหมึกนั้นจะช่วยลดการสะท้อนของเกล็ดสีเมทัลลิคลง แต่ยังคงลักษณะของสีเมทัลลิคที่จะดูมันเงาไว้ ลองดูตัวอย่างในภาพ แม้จะผสมสีเมทัลลิคกับสีหมึกแล้ว แต่ยังคงเห็นการสะท้อนของเกล็ดสีเมทัลลิคได้ชัดอยู่ ซึ่งทำให้สีของปืนนั้นดูสว่างเกินไปไม่เหมือนกับภาพต้นแบบครับ
15. I used Black Ink mixed with Brown Ink and washed on the metallic paint, in order to reduce the sheen from metallic paint and darken the color. You can see a difference between both areas; base color on the left part and after washed with ink on the barrel and drum magazine.
15. ดังนั้นผมจึงใช้สีหมึกสีดำผสมกับสีหมึกสีน้ำตาล นำมาทาวอชบนสีเมทัลลิคอีกรอบครับ เนื่องจากคุณสมบัติของสีหมึกนั้นจะมีความทึบสีสูงและให้พื้นผิวแบบกึ่งเงาเมื่อแห้ง เมื่อนำมาใช้วอชกับสีเมทัลลิคแล้วจึงทำให้ส่วนที่โดนย้อมนั้นเข้มขึ้นได้ง่ายและลดการสะท้อนแสงลง แต่ยังคงให้ลักษณะของผิวแบบเมทัลลิคอยู่ครับ ดังตัวอย่างในภาพตรงลูกศรสีแดงคือส่วนที่ทาวอชด้วยสีหมึกแล้ว สีตรงส่วนนั้นจะดูเข้มขึ้นแต่ยังคงลักษณะของสีเมทัลลิคที่จะเห็นเกล็ดสีและยังมีพื้นผิวที่มันเงาอยู่
16. After washed the whole metallic area with ink, I used Base Steel mixed with White Silver and painted on the edge of the front and rear sight, cooling holes, drum magazine, trigger and its guard, and it's finished.
16. เมื่อทาวอชด้วยสีหมึกทั้งหมดแล้วครับ จากนั้นผมใช้สีเมทัลลิค Base Steel ผสมกับ White Silver นำมาทาเก็บรายละเอียดตามขอบของส่วนต่างๆบนปืนอีกที เพื่อจำลองการสะท้อนแสงของเหล็กครับ โดยจะทาตามขอบของศูนย์เล็งหน้าและหลัง รูระบายความร้อนที่ลำกล้อง ดรัมแมกกาซีน รวมไปถึงบริเวณโกร่งไกปืน เป็นอันเสร็จครับ
6. หลังจากที่ทาเก็บเส้นเรียบร้อยแล้ว เพื่อให้สีเข้มของเส้นและสีอ่อนของพื้นไม้นั้นดูกลมกลืนกันมากขึ้น ผมใช้การทาย้อมสีแบบที่เรียกกันว่า เกลซซิ่ง Glazing Technique ซึ่งวิธีแบบเกลซนี้วิธีการทำจะคล้ายๆกับการวอชสี แต่ต่างกันตรงการวอชสีนั้นเพื่อที่จะเน้นรายละเอียดบนผิวงาน แต่การเกลซนั้นจะใช้เพื่อย้อมสีบนผิวงาน
อย่างในกรณีที่ทำมาให้ดูนี้ จะเห็นว่าสีเข้มของลายไม้จะดูตัดกับสีในบริเวณที่ซีดลงชัดเจน ผมจึงทำให้สีทั้งสองนี้ดูกลืนกันมากขึ้นโดยการเกลซทับในบริเวณนี้ด้วยสี Orange Brown ผสมกับ Flat Brown เล็กน้อย และผสมน้ำพอสมควรเพื่อให้สีนั้นค่อนข้างใส และทาทับไปบางๆทีละรอบๆ สีที่ทาทับไปนี้จะไปเคลือบบางๆอยู่บนสีทั้งสองจนย้อมให้สีนั้นดูเปลี่ยนไปเล็กน้อย ซึ่งจะเห็นว่าสีเข้มของลายไม้นั้นจะถูกย้อมให้สีนั้นจางลงและดูกลืนเข้ากับสีของพื้นไม้มากขึ้นครับ
7. I then used Flat Brown mixed with Cavalry Brown (VMC 70982) and glazed on the rest of the gunstock, especially on the grip area and lower area of the stock.
7. การเกลซนั้นทำได้ทั้งสีโทนอ่อนหรือเข้มครับ จากขั้นตอนที่แล้วที่ได้ย้อมในส่วนสว่างไป ในขั้นตอนนี้ก็ย้อมในส่วนของสีเข้มโดยการใช้สี Flat Brown ผสมกับ Cavalry Brown (VMC 70982) จากนั้นผสมน้ำให้สีค่อนข้างใสแล้วทาย้อมในส่วนอื่นๆของพานท้าย โดยเน้นในส่วนของบริเวณที่มือจับและด้านล่างของพานท้ายให้สองส่วนนี้นั้นดูเข้มมากขึ้นครับ
8. After glazed several times on the gunstock, the color on the gunstock has changed into more reddish brown and the dark brown lines are not look stand out as it was before. I then painted the edge of the gunstock with Orange Brown mixed with a bit of Flat Brown.
8. หลังจากที่ทาแบบเกลซเพื่อย้อมสีเสร็จแล้ว จะเห็นว่าสีของลายไม้ที่ตอนแรกดูเข้มนั้น ตอนนี้จะดูกลืนเข้ากับสีของส่วนต่างๆมากขึ้น รวมถึงสีบริเวณที่มือจับและด้านล่างของพานท้ายจะดูเป็นสีน้ำตาลอมแดงมากขึ้นกว่าเดิมครับ จากนั้นผมทาเก็บสีขอบของไม้ที่ติดกับส่วนเหล็กอีกครั้งด้วยสี Orange Brown ผสมกับ Flat Brown
9. 1/10 scale gun is big enough to show the details on the wood, I used Orange Brown mixed with a bit of Flat Brown and painted it as small patches and dots on the faded area. I then painted the small patches and dots on nearby areas but used the colors from step 2 and 3, in order to create a gradient of the painted detail colors from light to dark on the faded area to the reddish brown area.
This method is like to create wear and tear on the varnish, not to create the texture of the wood.
9. ปืนในขนาด 1/10 นั้นใหญ่พอที่จะเห็นถึงรายละเอียดต่างๆได้ชัดเจนครับ ดังนั้นผมจึงเพิ่มรายละเอียดบนส่วนของพื้นผิวไม้โดยใช้สี Orange Brown ผสมกับ Flat Brown นิดเดียว และทาแบบแต้มเป็นจุดหรือรอยเล็กๆบนส่วนของสีที่ซีดลง เพื่อเน้นให้สีในบริเวณนี้นั้นมีความหลากหลายมากขึ้น จากนั้นใช้การทาแบบแต้มเป็นจุดหรือรอยเล็กๆในส่วนอื่นๆที่เหลือ แต่เปลี่ยนไปใช้สีที่เข้มกว่าที่ใช้ทาในขั้นตอนที่ 2 และ 3 ครับ เพื่อที่จะทาให้สีของรอยแต้มเล็กๆนี้นั้นไล่ระดับสีจากอ่อนไปเข้มในส่วนของสีไม้ที่ซีดไปยังส่วนของสีไม้ที่เข้มครับ ในการทำสีขั้นตอนนี้นั้น จะเหมือนกับการทำให้สีที่เคลือบผิวไม้เอาไว้ ดูเหมือนผ่านสภาพการใช้งานมาจนมีการสึกหรอและซีดจาง มากกว่าที่จะเป็นการเพนท์เพื่อเลียนแบบเนื้อไม้ครับ
10. I added stains and scratches on the gunstock with German Camo. Black Brown.
10. จากนั้นผมเพิ่มรอยคราบสกปรกและรอยขีดข่วนบนผิวไม้ด้วยสี German Camo. Black Brown
11. I coated the gunstock with Satin Varnish (VMC 70522) for a satin finish.
11. ต่อด้วยการทาเคลือบผิวของส่วนที่เป็นไม้ด้วยสี Satin Varnish (VMC 70522) เพื่อให้ได้ลักษณะของผิวไม้แบบกึ่งมันกึ่งด้านครับ
12. A finished pic of the wooden gunstock.
12. เมื่อสีเคลือบนั้นแห้งแล้ว ผิวไม้จะดูเงาขึ้นเล็กน้อยครับ
13. For painting the rest of the gun (metallic area), I used the Silver Paint Set from Andrea Color. This set comes with three metallic paints and three inks for wash or shading metallic.
13. สำหรับการเพนท์ส่วนของเหล็กนั้น ผมใช้สีอะคริลิคของยี่ห้อ Andrea Miniatures เป็นสีชุดสำหรับเพนท์โลหะชื่อ Silver Paint Set ซึ่งในสีชุดนี้จะมีมาให้ทั้งหมด 6 ขวด เป็นสีเมทัลลิคสามขวด และสีหมึกสำหรับใช้ในการย้อมสีหรือไล่สีอีกสามขวด
14. I applied the base color with Shadow Lead mixed with Black Ink. Andrea metallic paints was very shiny when reflected with the light, but it looks too bright and does not suit with the metallic color of the real gun.
14. ผมเลือกใช้สี Shadow Lead ผสมกับสีหมึกสีดำ เป็นสีพื้นของปืน สีเมทัลลิคของแอนเดรียนั้นค่อนข้างจะมันวาวมากเมื่อสะท้อนกับแสงครับ การผสมกับสีหมึกนั้นจะช่วยลดการสะท้อนของเกล็ดสีเมทัลลิคลง แต่ยังคงลักษณะของสีเมทัลลิคที่จะดูมันเงาไว้ ลองดูตัวอย่างในภาพ แม้จะผสมสีเมทัลลิคกับสีหมึกแล้ว แต่ยังคงเห็นการสะท้อนของเกล็ดสีเมทัลลิคได้ชัดอยู่ ซึ่งทำให้สีของปืนนั้นดูสว่างเกินไปไม่เหมือนกับภาพต้นแบบครับ
15. I used Black Ink mixed with Brown Ink and washed on the metallic paint, in order to reduce the sheen from metallic paint and darken the color. You can see a difference between both areas; base color on the left part and after washed with ink on the barrel and drum magazine.
15. ดังนั้นผมจึงใช้สีหมึกสีดำผสมกับสีหมึกสีน้ำตาล นำมาทาวอชบนสีเมทัลลิคอีกรอบครับ เนื่องจากคุณสมบัติของสีหมึกนั้นจะมีความทึบสีสูงและให้พื้นผิวแบบกึ่งเงาเมื่อแห้ง เมื่อนำมาใช้วอชกับสีเมทัลลิคแล้วจึงทำให้ส่วนที่โดนย้อมนั้นเข้มขึ้นได้ง่ายและลดการสะท้อนแสงลง แต่ยังคงให้ลักษณะของผิวแบบเมทัลลิคอยู่ครับ ดังตัวอย่างในภาพตรงลูกศรสีแดงคือส่วนที่ทาวอชด้วยสีหมึกแล้ว สีตรงส่วนนั้นจะดูเข้มขึ้นแต่ยังคงลักษณะของสีเมทัลลิคที่จะเห็นเกล็ดสีและยังมีพื้นผิวที่มันเงาอยู่
16. เมื่อทาวอชด้วยสีหมึกทั้งหมดแล้วครับ จากนั้นผมใช้สีเมทัลลิค Base Steel ผสมกับ White Silver นำมาทาเก็บรายละเอียดตามขอบของส่วนต่างๆบนปืนอีกที เพื่อจำลองการสะท้อนแสงของเหล็กครับ โดยจะทาตามขอบของศูนย์เล็งหน้าและหลัง รูระบายความร้อนที่ลำกล้อง ดรัมแมกกาซีน รวมไปถึงบริเวณโกร่งไกปืน เป็นอันเสร็จครับ
References for PPSh-41
image courtesy of luger.gunboards.com |
image courtesy of waffen-hege.de |
Excellent tutorial, thank you
ReplyDelete