Tuesday, February 17, 2015

Night Lords Night Raptor (part 4)

For painting the lightning pattern on the armor, I searched for some references on the internet first in order to learn about the pattern and colors.
I then started to paint with the lightning base color, I used Intense Blue (VMC 70925) mixed with Off White (VMC 70820). I painted these shaky lines as a quick sketch in order to see the composition of the pattern and their direction on the leg. Note, you can see the lightning color is just a bit bright than background color.

สำหรับการเพนท์ลวดลายฟ้าผ่าลงบนเกราะ ผมเริ่มด้วยการหาภาพอ้างอิงของฟ้าผ่าในอินเทอร์เน็ตครับ เพื่อที่จะได้เห็นถึงลักษณะของลวดลายและสีว่าเป็นแบบไหน จากนั้นเริ่มทำสีด้วยการผสมสี Intense Blue (VMC 70925) กับสี Off White (VMC 70820) เพื่อเป็นสีพื้นของสายฟ้าครับ แล้วทาลงบนเกราะโดยเขียนเป็นเส้นร่างให้ดูเป็นเส้นแบบสั่นๆอย่างในภาพ เพื่อที่จะได้เห็นถึงภาพรวมและทิศทางของเส้นที่กำลังทำครับ และจะเห็นว่าสีของเส้นที่ผสมนี้จะสว่างกว่าสีของเกราะไม่มากนักครับ


image courtesy of 1hdwallpapers.com

I mixed more white in the base color then painted it over the center line from previous step, but this time with more precise. Note, I used the background color (the armor color) to clean the excess if I did some mistakes or want to adjust some details.

ผมผสมสีขาวเพิ่มเข้าไปในสีพื้นเพื่อให้สีนั้นสว่างขึ้น แล้วพยายามทาทับลงบนเส้นฟ้าผ่าตรงกลางที่ได้ร่างเอาไว้ในขั้นที่แล้ว โดยคราวนี้จะพยายามทาเน้นให้เส้นนั้นคมชัดมากขึ้นครับ และถ้าหากเขียนเส้นผิดพลาดหรืออยากที่จะแก้ไขตรงส่วนไหน ผมก็จะใช้สีของชุดเกราะมาใช้ในการลบเส้นส่วนเกิน แล้วเขียนเส้นสายฟ้าใหม่อีกรอบ หรือทำซ้ำไปมาจนได้เส้นตามแบบที่ต้องการครับ


I used the base color from the first step and painted on both sides of the center line as a pale lightning background. The pale lightning background will create depth and make the center lightning looks stand out.

จากนั้นผมกลับไปใช้สีพื้นจากขั้นตอนแรก แล้วทาเป็นลายสายฟ้าตรงทั้งสองด้านของเส้นฟ้าผ่าตรงกลาง จะเห็นว่าเส้นที่ทาลงไปใหม่นี้จะมีสีที่เข้มกว่าเส้นตรงกลาง และจะทำให้ดูแล้วเกิดระยะหน้าหลังของเส้นที่ซ้อนทับกัน ทำให้ลวดลายฟ้าผ่านั้นดูเด่นและน่าสนใจมากขึ้นครับ


For the final highlight, I used Off White (VMC 70820) mixed with just a little bit of  Intense Blue (VMC 70925). I then tried to paint it as thin line as possible over the center line. I used the color from previous step to clean the excess and also used it for glazing on both sides of the line. As you can see on the photo, the color from previous step remains on the sides of a thin white line. It will create an illusion of colors and make the white looks glow a bit, same as shown on the reference photo.
Although it requires experiences for painting the small and precise details like this lightning pattern, don't worry if you can't paint it small as shown on this tutorial. Just keep practicing on your brushwork so you will gain more experiences and ability to control your paintbrush. Therefore, try to paint it as thin as you can. It is not because the size of the line that make it looks like lightning, but it is because of the pattern and color.

ต่อไปลงสีของเส้นที่สว่างสุด โดยผสมสีขาว Off White (VMC 70820) กับสี Intense Blue (VMC 70925) เพียงนิดเดียว เพื่อให้ขาวนั้นไม่ขาวจัดจนเกินไป จากนั้นพยายามทาลงบนตรงกลางของเส้นให้เล็กที่สุดเท่าที่จะทำได้ครับ ซึ่งถ้าเราเขียนเส้นสีขาวตรงกลางได้เล็กพอ มันจะเห็นสีจากขั้นตอนที่แล้ว ที่เข้มกว่าเล็กน้อยขนาบอยู่ทั้งสองด้านของเส้นขาวครับ หรืออาจใช้สีจากขั้นตอนก่อนหน้าในการลบส่วนเกินหากเขียนเส้นขาวใหญ่เกินไปและทาซ้ำใหม่อีกรอบ รวมถึงนำมาทาเคลือบแบบเกลซบางๆที่ด้านข้างของเส้นขาวที่ลงไว้เพื่อให้เห็นสีที่เข้มกว่าขนาบอยู่ด้านข้างจางๆครับ ตรงส่วนนี้จะสำคัญหน่อยเพราะสีที่เข้มกว่าที่ขนาบอยู่ทั้งสองด้านของเส้นขาวนี้ จะช่วยทำให้เกิดการลวงตาของสีครับ และจะมองเหมือนเส้นขาวที่อยู่ตรงกลางนั้นดูเรื่องแสงแบบจางๆ เหมือนอย่างที่เห็นแบบในภาพอ้างอิงด้านบนครับ
ถึงแม้ว่าการทาสีที่มีขนาดเล็กมากๆอย่างเช่นลวดลายของฟ้าผ่านี้ จะต้องอาศัยประสบการณ์และความแม่นยำในการควบคุมพู่กันพอสมควร แต่ก็ไม่ต้องกังวลไปครับหากคุณยังไม่สามารถเพนท์งานที่เล็กๆได้ พยายามหมั่นฝึกฝนการใช้พู่กันอยู่เสมอจะช่วยพัฒนาทักษะและประสบการณ์ในการใช้งานครับ ดังนั้นแล้วแค่พยายามเขียนเส้นให้ได้เล็กที่สุดเท่าที่คุณทำได้ก็พอครับ เพราะจุดสำคัญของลวดลายฟ้าผ่านั้นไม่ได้อยู่ที่ขนาดของเส้น แต่อยู่ที่ลวดลายและสีครับ ที่จะทำให้มันดูเหมือนฟ้าผ่า 


Last step I glazed over the lightning on the shadow area with Royal Purple (VMC 70810), in order to blend it with the shadow and reduce the brightness.

ขั้นสุดท้ายผมทาเคลือบแบบเกลซลงบนสายฟ้าส่วนที่พาดอยู่บนเงาของชุดเกราะครับ ด้วยสี Royal Purple (VMC 70810) เพื่อที่จะทำให้สีในส่วนนี้นั้นลดความสว่างลงและดูกลมกลืนไปกับส่วนของแสงและเงาที่อยู่บนชุดเกราะครับ


Here are some photos of the finished lightning pattern on the leg.

ภาพของลวดลายฟ้าผ่าที่เสร็จแล้วครับ 





The tips for painting the lightning is diluted a paint with water more than usual, so the paint will be flowed better and easy to paint a very thin line. I also controlled the paintbrush with my wrist and shook it a little bit during the painting in order to draw the shaking line.
A fine paintbrush is important for this method as well. Because a good quality of hairs or bristles have ability to hold paint, makes it can be painted a very thin and long line better than usual paintbrush (synthetic bristles). Although the fine paintbrush is expensive especially if it made from Kolinsky sable  (Winsor & Newton Series 7, Raphael 8404), the quality is worth with the price. However, there are several paintbrush brands in the art store or modelling store that's not too expensive like the one I used for painting this method (Creative Models). Their quality might not good as an expensive paintbrush, but I think it's good enough for beginners who want to start more precise details painting on their works, then you can buy an expensive one later when you have more experiences.

ส่วนของเทคนิคเล็กๆน้อยๆในการทาสีลวดลายฟ้าผ่านี้ ที่อยากจะแนะนำคือให้ผสมสีกับน้ำให้มากกว่าปกติเล็กน้อยครับ เพราะว่าสีที่เหลวจะทำให้การไหลของสีนั้นทำได้ดีและช่วยให้ทาเป็นเส้นเล็กๆยาวๆได้ง่ายกว่าสีที่ข้นครับ นอกจากนี้ผมจะใช้การควบคุมพู่กันด้วยข้อมือและใช้การสั่นข้อมือเล็กน้อยเวลาที่ลากเส้น เพื่อที่จะได้ลักษณะของเส้นแบบที่สั่นๆอย่างในภาพครับ 
พู่กันคุณภาพดีๆก็มีความสำคัญสำหรับการทำงานที่ต้องการความละเอียดแบบนี้เช่นกันครับ เพราะว่าพู่กันคุณภาพดีนั้นจะใช้ขนแปรงที่ทำจากขนสัตว์ ซึ่งมีคุณสมบัติในการอุ้มน้ำได้ดี ทำให้ง่ายต่อการเพนท์เส้นหรือรายละเอียดเล็กๆได้ดีกว่าพู่กันทั่วไปที่ใช้ขนแปรงแบบสังเคราะห์ครับ แม้ว่าพู่กันคุณภาพดีเหล่านี้จะมีราคาที่ค้อนข้างแพง โดยเฉพาะถ้าขนแปรงนั้นทำมาจาก Kolinsky sable ที่มีราคาแพงมาก อย่างเช่นพูกันของ Winsor & Newton Series 7 หรือ Raphael 8404 แต่คุณภาพที่ได้นั้นก็เหมาะสมและคุ้มค่ากับราคาครับ
อย่างไรก็ดี ยังมีพู่กันยี่ห้ออื่นๆอีกที่ใช้ขนแปรงที่ทำจากขนสัตว์เช่นกันแต่มีราคาที่ถูกกว่า ซึ่งมีขายทั้งตามร้านอุปกรณ์เครื่องเขียนหรือแม้แต่พู่กันที่บริษัทโมเดลนั้นผลิตขึ้นมาเอง อย่างที่ผมใช้ในการเพนท์งานชิ้นนี้ครับ (ของยี่ห้อ Creative Models) ถึงแม้ว่าคุณภาพนั้นอาจจะยังไม่ดีเท่าพู่กันราคาแพง แต่ก็เป็นทางเลือกให้สำหรับคนที่ต้องการจะลองเพนท์งานของตัวเองให้ละเอียดมากขึ้นโดยที่ยังไม่ต้องลองลงทุนไปกับพู่กันราคาแพงครับ และถ้ามีประสบการณ์ในการเพนท์งานที่ละเอียดมากขึ้นแล้วค่อยลองหาพู่กันแพงๆมาลองใช้ดูในภายหลังก็ได้ครับ

Monday, February 2, 2015

Night Lords Night Raptor (part 3)

After finished the russian bust project, I switched back to this project that's waiting on my desk for a couple months. I decided to finish shading and highlighting on the armor and jump pack first, before adding the lightning pattern on it.
I painted the armor and jump pack with Intense Blue (VMC 70925) as a base color and mixed it with black and white for shading and highlighting. I also glazed on the shadow with Royal Purple (VMC 70810) in order to create more variety of colors (I found this method from HopeRiver's blog, HERE). This glazed color is coated on the shadow as a thin layer of purple-red and it will be seen when reflected with the light. However, it's quite difficult to capture this color on the shadow with my poor camera.

หลังจากที่เสร็จสิ้นกับการทำรัสเซี่ยนบัส ผมกลับมาเริ่มทำสีงานชิ้นนี้ที่ทำค้างเอาไว้ตั้งแต่สองสามเดือนก่อน โดยเริ่มจากการทำสีไล่แสงเงาในส่วนของชุดเกราะทั้งหมดให้เสร็จเป็นอันดับแรก ก่อนที่จะเพนท์ลวดลายฟ้าผ่าทับลงบนชุดเกราะอีกทีในขั้นตอนต่อไป
ในส่วนสีของชุดเกราะผมใช้สี Intense Blue (VMC 70925) เป็นสีพื้น และนำมาผสมกับสีขาวและสีดำสำหรับการทาเกลี่ยไล่สีของแสงและเงา จากนั้นใช้สี Royal Purple (VMC 70810) ทาเคลือบแบบเกลซ (glazing) ลงในส่วนของเงา เพื่อให้เกิดความหลากหลายของสีบนชิ้นงานมากขึ้น (ผมเจอวิธีการเกลซสีลงบนเงานี้ในบล็อกของ HopeRiver ครับ ลองเข้าไปดูได้ที่ HERE) สีที่ทาเคลือบไปนี้จะไปเคลือบเป็นชั้นบางๆอยู่บนบริเวณที่เป็นสีของเงา และจะทำให้ส่วนของเงานั้นดูเป็นสีเข้มออกไปทางแดงอมม่วง และจะเห็นได้ชัดเมื่อสะท้อนกับแสง แต่อาจจะมองเห็นสีนี้ในภาพที่ถ่ายมาได้ลำบากหน่อยครับ