Friday, September 27, 2013

“ Want a ride ? ”

Translated by Krittadhi Boonvichitr (ZAlpha)

I built this diorama around 2005 or 2006 and took a photo of it to enter in Digital Imagination Competition held by AFV Modeller Magazine in 2006. The result came out with my work winning number two award. The vehicle seen in this diorama, the V-100, was taken from Trophy Model. It had been modified with additional details to make it look as close as the real one (especially the welding trails which can be seen around the vehicle). I used VP figures (Verlinden Productions) as well as Legend’s and modified them with parts from Dragons to make them look more natural and to allow them to better express what’s happening in the scene. This is because I believe that, to become great diorama makers, one requires not only superb techniques (painting, diorama making, and composition) but also great skills in expressing and conveying ideas and messages through his or her works. The diorama needs to be able to speak for itself as to what is happening, where it is happening, and how it is happening – whether through the facial expression of the figures or the overall atmosphere of the scene. Examples of wonderful diorama pieces can be seen from the works of many famous modellers such as Douglas Lee [Click], who has won “Best of Show” award from Euromilitaire many times. Simply by looking at his work, one can understand the story and what is happening at the scene clearly. This is why I put so much effort into the figures on this diorama. Because I try my best to make them convey emotions and what have happened at that time (and hoping to make it even better in my future works)

ผลงานชิ้นนี้ ผมทำไว้ในปี 2005-2006 และส่งภาพร่วมประกวดงาน Digital Imagination Competition ในปี 2006 ที่จัดโดยหนังสือ AFV Modeller Magazine และได้รางวัลที่ 2 จากการประกวดนี้  ตัวรถ V-100 นั้นเป็นโมเดลของยี่ห้อ Trophy model ที่ตกแต่งรายละเอียดเพิ่มเติมให้ใกล้เคียงกับของจริง (โดยเฉพาะส่วนของรอยเชื่อมที่จะมีอยู่รอบคัน) ส่วนฟิกเกอร์เป็นของ VP (verlinden Productions) และ Legend ที่ดัดแปลงและผสมกับชิ้นส่วนของ Dragon เพื่อให้ตัวฟิกเกอร์นั้นดูเป็นธรรมชาติและบอกเรื่องราวที่เกิดขึ้นภายในฉากได้ดีขึ้น เพราะผมคิดว่าการทำฉากจำลองนั้น นอกเหนือจากเทคนิคในการทำงานต่างๆแล้ว (การทำสีการทำฉาก และการจัดองค์ประกอบ) สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือแนวคิดหรือเรื่องราวที่ต้องการจะนำเสนอภายในฉาก เพื่อให้ตัวฉากจำลอง สามารถบอกได้ว่ากำลังเกิดอะไรขึ้น ที่ไหน อย่างไร ซึ่งแนวคิดหรือเรื่องราวนี้จะสื่อผ่านทางสีหน้าและท่าทางของตัวฟิกเกอร์ และทำให้ผู้ชมงานสามารถเข้าใจถึงเรื่องราวรวมถึงอารมณ์ที่เกิดขึ้นภายในฉากได้ เหมือนกับงานของโมเดลเลอร์ที่มีชื่อเสียงหลายๆคน (อย่างเช่น Douglas Lee [Clickที่ได้รางวัล Best of Show จาก Euromilitaire หลายครั้ง) ที่เพียงแค่มองผลงานของเขา ก็สามารถเข้าใจได้ถึงเรื่องราวและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้เป็นอย่างดี ดังนั้นในงานชิ้นนี้ผมจึงให้ความสำคัญในส่วนของฟิกเกอร์มากที่สุด และพยายามทำให้มันสื่อถึงอารมณ์และเรื่องราวที่เกิดขึ้นให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ในตอนนั้น (และหวังว่าจะทำให้ดีขึ้นอีกในอนาคต)






These photos of the Diorama were taken using SLR Camera (film). The background was a place near my house which looks quite similar to those environments in Vietnam. (Being in South East Asia and not so far from each other) The photos were taken using sunlight to create actual senses of light and shadows. I had my freelance photographer friend “Yothapol” taken them for me. The photos were then re-touched by me using the magic of Photoshop 7.0.

ส่วนการถ่ายภาพชุดนี้ถ่ายโดยใช้ฉากหลังในบริเวณใกล้ๆบ้านผม เพราะจะมีลักษณะภูมิประเทศคล้ายๆกับเวียดนาม (เพราะเราอยู่ใน South East Asia เหมือนกัน) และถ่ายกับแสงแดดธรรมชาติเพื่อให้เกิดความสมจริงของแสงและเงา ซึ่งเพื่อนของผม Yothapol (ตากล้องอิสระ) เป็นคนมาถ่ายภาพชุดนี้ให้ จากนั้นผมนำภาพไป retouch ส่วนที่ไม่ต้องการออก และทำให้ส่วนของฉากหลังและพื้นดินภายใน diorama นั้นดูกลมกลืนเข้าด้วยกัน โดยใช้โปรแกรม Photoshop 7.0









These set of images were taken few years back during Thailand modellers’ meeting at The Modelling Competition and Meeting. All credits goes to Tidthom (Chotirat Greetaworn) who took these amazing photos of my work.

ส่วนภาพชุดนี้ ถ่ายเมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมา ในงานมีตติ้งและประกวดโมเดลในประเทศไทย ถ่ายภาพโดย Tidthom (ต้องขอขอบคุณเป็นอย่างสูงสำหรับภาพถ่ายชุดนี้)











Monday, September 23, 2013

Some of my Shelf Queen (Figure Vigenette Part 3)

Translated by Krittadhi Boonvichitr (ZAlpha)

Sd.Kfz.223 (Late Production) - (Tamiya 1/35 scale)
My last vignette is WW II themed. I intend to present the story of U.S. Airborne unit operated in Normandy. This display features “part” of Sd.Kfz.223 armoured vehicle which has been cut in half as part of the composition. Since the half Sd.Kfz.223 need to be of Late type, I decided to modify from an Early type made by TAMIYA by adding details in various areas with plastic sheets, copper wires, and brass sheet. The composition was then put onto the base. The cassette boxes were there to act as house walls and have been readjusted to see the suitable composition in spaces between the house, the soldier and the vehicle. This makes it easier to guess how the final outcome will be like before adding further details to the vignette. This vignette was also left undone as seen in the picture since then.

ชิ้นสุดท้ายทำเป็นฉากของยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยต้องการจะเสนอเรื่องราวของหน่วยพลร่มอเมริกัน ในช่วงการรบที่นอร์มังดี ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งงานชิ้นนี้จะมีส่วนของรถหุ้มเกราะ Sd.Kfz.223 ที่ตัดมาเพียงครึ่งคัน ไว้เป็นองค์ประกอบภายในฉาก เพื่อทำให้งานนั้นดูน่าสนใจมากขึ้นด้วย (ในส่วนของตัวรถนั้นทำเสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยดัดแปลงจาก Sd.Kfz.223 ของทามิย่า ซึ่งเป็นรุ่น Early ให้กลายเป็นรุ่น Late จึงมีรายละเอียดที่ต้องสร้างเองหลายๆจุด โดยใช้ แผ่นและแท่งพลาสติก ลวดทองแดง และ แผ่นตะกั่ว ) และนำไปจัดวางบนฐาน โดยใช้กล่องเทปมาวางแทนส่วนของผนังของบ้าน เพื่อที่จะได้ทดลองกำหนดและปรับเปลี่ยนพื้นที่ระหว่างตัวรถ บ้าน และคน ให้ดูสมดุลกัน ทำให้มองเห็นภาพรวมของฉากว่าจะมีลักษณะแบบไหนได้ง่ายขึ้น ก่อนที่จะสร้างในส่วนของบ้านและองค์ประกอบอื่นๆขึ้นมาจริงๆ ซึ่งงานชิ้นนี้ก็ทำค้างไว้เพียงแค่นี้เช่นกัน












Some ideas  before final composition.





I hope that these works will inspire some of you with ideas to create your own masterpieces. I will keep you in touch if there is more update on these three projects. (Hopefully, soon)

ถ้ามีความคืบหน้าของงานเหล่านี้เมื่อไหร่ ผมจะนำมาลงอีกทีแน่นอนครับ (หวังว่าคงจะในเร็วๆนี้)
แฮปปี้โมเดลลิ่งครับ ทุกๆท่าน

Sunday, September 22, 2013

Some of my Shelf Queen (Figure Vigenette Part 2)

Translated by Krittadhi Boonvichitr (ZAlpha)

Vietnam Bunker
This Vietnam War vignette is inspired by a photo I saw on the internet. I scratch built the bunker roughly with polystyrene and put some figures around to consider the overall composition as to how it would look like. And it was left undone in this way since.

ชิ้นนี้เป็นฉากในยุคสงครามเวียดนาม แรงบันดาลใจของงานชิ้นนี้ มาจากภาพถ่ายที่ผมเจอในอินเตอร์เน็ท และนำมาขึ้นรูปโครงสร้างของฉากเอาไว้คร่าวๆด้วยโฟม และนำฟิกเกอร์มาลองจัดวาง เพื่อให้เห็นภาพรวมของฉากว่าจะมีลักษณะเป็นแบบไหน และทำทิ้งค้างเอาไว้แค่นี้








Friday, September 20, 2013

Some of my Shelf Queen (Figure Vigenette Part 1)

Translated by Krittadhi Boonvichitr (ZAlpha)

I began making all of the three vignettes around the same time in 2011 to accompany my article for Thai website. The article deals with how I create my vignettes from finding inspirations and turning those inspirations to ideas or stories I want to convey. It also mentioned how to arrange each element, from rough layouts to adding final touches. The vignettes I used for this were inspired by 3 different period; the present, Vietnam War, and World War II. This is why all of the three were finished only to certain degrees, as I cannot find time to finish them and they are all sitting still on my display cabinet.

งานวิคเน็ททั้ง 3 ชิ้นนี้ ผมเริ่มทำพร้อมๆกันในช่วงปี 2011 เพื่อเขียนเป็นบทความลงในเว็ปไซท์ของไทย เกี่ยวกับวิธีในการเริ่มต้นการทำวิคเน็ทของผม ตั้งแต่การหาแรงบันดาลใจในการสร้างงาน และแปลงแรงบันดาลใจนั้นให้กลายเป็นแนวความคิดหรือเรื่องราวที่ต้องการจะสื่อภายในผลงาน รวมไปถึงวิธีการในการจัดวางองค์ประกอบภายในฉากแบบเบื้องต้น เพื่อให้เห็นถึงลักษณะของฉากโดยรวมแบบคร่าวๆ ก่อนที่จะเพิ่มเติมรายละเอียดต่างๆจนฉากนั้นสมบูรณ์ โดยใช้ตัวอย่างเป็นวิคเน็ทจาก 3 ยุค คือ ปัจจุบัน เวียดนาม และ WWII งานทั้ง 3 ชิ้น จึงทำเสร็จแค่เพียงในขั้นเริ่มต้นเท่านั้น เพราะใช้เป็นเพียงตัวอย่าง ในการอธิบายวิธีเริ่มต้นในการทำวิคเน็ท หลังจากนั้นผมจึงไม่ได้นำกลับมาทำต่อและยังคงรอคอยอยู่ในตู้เช่นเดียวกัน



NYPD ESU
The first of the three pieces is inspired by modern settings. As for the idea behind this work, I want to combine two things that I love most together – these are modeling and graffiti art. Thus, the story is about an NYPD ESU who is at the scene in New York. He is shouting at the people playing basketball nearby to get out of there because it is dangerous. As you can see, the scene has been finished. It depicts some basketball cage in NY which has graffiti sprayed all over the wall and other places. I designed all of the graffiti seen in this vignette myself and painted each with acrylic paints. The wall was made from plaster while the cage was made from plastic mesh and rods. The chair and the garbage bin were built from plastic sheets with garbage bags made of stuffed plastic bags.

ชิ้นแรกนี้ทำออกมาเป็นงานในยุคปัจจุบัน สำหรับแนวคิดในการทำงานชิ้นนี้นั้น มาจากที่ผมต้องการจะนำสองสิ่งที่ผมรักคือการทำโมเดลและการทำ Graffiti ให้มาผสมเข้าด้วยกัน จึงทำออกมาเป็นเรื่องราวของหน่วย NYPD ESU ที่กำลังเข้าปฎิบัติการในพื้นที่เกิดเหตุในเมืองนิวยอร์ค และตะโกนบอกให้เด็กที่เล่นบาสเก็ตบอลในบริเวณนั้น ถอยออกไปจากพื้นที่เพราะมันอันตราย ซึ่งตัวฉากนั้นผมทำเสร็จเรียบร้อยแล้ว และทำออกมาเป็นฉากของสนามบาสภายในเมืองนิวยอร์กที่มีงาน graffiti พ่นอยู่บนผนัง และตามที่ต่างๆ ซึ่งลวดลายของ Graffiti ทั้งหมดภายในฉากนั้น เป็นการออกแบบของผมเองและเขียนด้วยสีอะครีลิค ส่วนกำแพงนั้นทำจากปูนพลาสเตอร์และทำลูกกรงเหล็กด้วยแท่งพลาสติกกับ ตาข่ายพลาสติก  ส่วนเก้าอี้และถังขยะนั้นขึ้นรูปจากพลาสติกชีท และทำถุงขยะจากถุงพลาสติกที่ยัดเศษกระดาษและโฟมไว้ด้านใน
























As you can see, the figure hasn’t been finished because I was feeling bored and too lazy to convert the pose. I also think, at that time, that my skills on sculpting weren’t good enough yet. So I decided to wait while practicing with other pieces (such a wonderful excuse, by the way). So the work stopped just here.

ส่วนของตัวฟิกเกอร์นั้น เนื่องจากรู้สึกเบื่อและขี้เกียจกับการปั้นและดัดแปลงท่าทางของฟิกเกอร์ เพราะยังคิดว่าฝีมือในการปั้นของผมเองนั้นยังไม่ดีพอ เลยรอให้มันพัฒนาขึ้นด้วยการฝึกปั้นกับงานชิ้นอื่นๆก่อน(เป็นคำแก้ตัวที่ดูดีมาก) งานชิ้นนี้จึงทำค้างเอาไว้ได้เพียงแค่นี้