สำหรับการทำงานในขั้นสูงนี้ ส่วนตัวผมเองมองว่าจะเป็นการผสมผสานกันระหว่างการทำงานในขั้นต้น (Basic Techniques) และการทำงานในขั้นกลาง (Intermediate Techniques) โดยนำเทคนิคต่างๆที่ได้เรียนรู้จากทั้งสองหัวข้อ นำมาประยุกต์ใช้ร่วมกันภายในฉากจำลอง และพยายามทำให้องค์ประกอบต่างๆที่อยู่ภายในฉากจำลอง มีความสมจริงหรือใกล้เคียงกับสภาพความเป็นจริงให้ได้มากที่สุด เพื่อให้ตัวฉากจำลองนั้น สามารถสื่อได้ถึงเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ภายในฉากจำลองได้อย่างสมจริงและเป็นธรรมชาติ
ดังนั้นตัวอย่างของการทำงานในขั้นสูงที่นำมาลงนี้ จึงไม่ได้มีวิธีการที่แตกต่างไปจากหัวข้อที่ผ่านมามากนัก ทั้งการทำตัวอาคารด้วยปูนพลาสเตอร์ หรือการทำพื้นถนนหิน
เพียงแต่รูปแบบการทำงานในขั้นสูงนี้ ภาพรวมของการทำงานจะดูซับซ้อนมากขึ้นกว่าเดิม และมุ่งเน้นไปที่การใส่ใจในรายละเอียดต่างๆภายในฉากจำลองให้มากขึ้น ทั้งในขั้นตอนของการวางแผนการทำงาน ก่อน-หลัง ที่จะเป็นประโยชน์อย่างมากในการทำฉากจำลองที่มีรายละเอียดสูง รวมไปถึงการใช้เทคนิคการทำสีในส่วนต่างๆ เพื่อให้ฉากจำลองนั้นออกมาสมบูรณ์และใกล้เคียงกับความเป็นจริงครับ
ส่วนงานที่นำมาลงนี้ เป็นผลงานที่ผมเคยลงเอาไว้ในเวป MSOT เมื่อ 1-2 ปีที่ผ่านมา และเลือกที่จะทำเป็นฉากขนาดเล็กแบบที่เรียกกันว่า วิคเน็ท เพราะสามารถที่จะเก็บรายละเอียดต่างๆได้ง่ายกว่าฉากขนาดใหญ่ที่รายละเอียดจะเพิ่มขึ้นตามขนาดของฉากและใช้เวลานานในการทำงาน ดังนั้นการลองผิดลองถูกกับฉากขนาดเล็กก่อนจะช่วยให้เกิดประสบการณ์และความชำนาญ และสามารถนำเทคนิคต่างๆไปปรับใช้กับฉากที่มีขนาดใหญ่ขึ้นได้เช่นเดียวกันครับ
No comments:
Post a Comment