Fall of The Reich, Berlin 1945 (part 2)
วันนี้เริ่มทำสีในส่วนของตัวตึกและถนนเสร็จแล้ว เหลือเก็บรายละเอียดสีของพวกวงกบประตู หน้าต่าง และพื้นไม้ครับ สำหรับการทำงานสีบนปูนพลาสเตอร์นั้นทางที่ดีควรจะพ่นเคลียร์หรือสีรองพื้นเคลือบก่อนก็จะดีมากครับ เพราะถ้าเรารองพื้นไม่ดีปูนจะดูดสีมาก อย่างที่ผมได้ทำในตอนแรกตรงส่วนที่เป็นอิฐรองพื้นสีเทาอ่อนไว้บางๆ ตอนทาเก็บสีอิฐเลยต้องลงหลายรอบมากกว่าจะได้ทึบอย่างที่เห็นครับ
วิธีการทำสีในครั้งนี้ผมลองทำสีแบบเกลี่ยน้ำหนักไล่แสงเงาดูครับ เพื่อเป็นการจำลองแสงที่ตกกระทบลงบนพื้นผิวอาคาร และไล่น้ำหนักของสีให้ดูแตกต่างกัน ไม่เป็นสีเดียวกันไปทั้งหมดจะได้ดูมีมิติมากขึ้น ในขั้นตอนนี้สีจะยังดูสดและตัดกันมากครับ แต่หลังจากทำการเวทเธอริ่งแล้วสีทั้งหมดจะดูกลมกลืนขึ้น
วันนี้เริ่มทำสีในส่วนของตัวตึกและถนนเสร็จแล้ว เหลือเก็บรายละเอียดสีของพวกวงกบประตู หน้าต่าง และพื้นไม้ครับ สำหรับการทำงานสีบนปูนพลาสเตอร์นั้นทางที่ดีควรจะพ่นเคลียร์หรือสีรองพื้นเคลือบก่อนก็จะดีมากครับ เพราะถ้าเรารองพื้นไม่ดีปูนจะดูดสีมาก อย่างที่ผมได้ทำในตอนแรกตรงส่วนที่เป็นอิฐรองพื้นสีเทาอ่อนไว้บางๆ ตอนทาเก็บสีอิฐเลยต้องลงหลายรอบมากกว่าจะได้ทึบอย่างที่เห็นครับ
วิธีการทำสีในครั้งนี้ผมลองทำสีแบบเกลี่ยน้ำหนักไล่แสงเงาดูครับ เพื่อเป็นการจำลองแสงที่ตกกระทบลงบนพื้นผิวอาคาร และไล่น้ำหนักของสีให้ดูแตกต่างกัน ไม่เป็นสีเดียวกันไปทั้งหมดจะได้ดูมีมิติมากขึ้น ในขั้นตอนนี้สีจะยังดูสดและตัดกันมากครับ แต่หลังจากทำการเวทเธอริ่งแล้วสีทั้งหมดจะดูกลมกลืนขึ้น
ส่วนสีที่ใช้นั้นผมใช้สีกันเซ่สูตรทินเนอร์ทั้งหมดครับ จริงๆแล้วจะเลือกใช้สีอะครีลิคสูตรน้ำแบบหลอดก็ได้ครับ ก็จะสามารถทาเกลี่ยสีไล่สีได้ง่ายขึ้น เบอร์สีที่ลงให้ดูนั้นไม่ได้ตายตัวมีหลักๆ แค่สีเบอร์ 7 เท่านั้น ในการทำสีอิฐโดยผสมกับสีแดงจะออกน้ำตาลแดงดังรูปครับ จากนั้นก็เอาสีที่ได้ ไปผสมเหลือง ก็จะได้โทนน้ำตาลอมส้มเพิ่มขึ้นมาอีกหนึ่งเฉด แล้วก็เอาไปทา โดยทาเว้นร่องของสีเทาที่รองพื้นไว้ครับ และทาให้สลับก้อนกันไปมา จากนั้นก็เอาสีเดิมไปผสมสีดำอีกนิดหน่อยมาทาในบางก้อน ก็จะได้สีของอิฐที่มี 3 เฉดสีครับขั้นสุดท้ายก็เอาสีทั้งสองสีที่ผสมไว้ไปผสมขาวและเหลือง มาทาเกลี่ยไล่แสงเงาตามขอบมุมอิฐแต่ละก้อนอีกที ส่วนก้อนที่เป็นน้ำตาลเข้มใช้สีน้ำตาลแดงมาทาเกลี่ย ก็จะได้ออกมาแบบที่เห็นครับ
สีของพื้นหินและบนตัวอาคารที่เป็นสีเทา ใช้ดำกับขาวผสมกันครับ ทารองพื้นไปก่อนหรือจะใช้กันเซ่เบอร์40 เทา
เยอรมัน รองพื้นก็ได้ครับ
จากนั้นก็เอาสีพื้นไปผสมขาวให้สีอ่อนลงมาหน่อยแล้วดรายบรัชให้ทั่ว
จากนั้นก็เอาไปผสมขาวเพิ่มให้สว่างขึ้นแล้วทาเกลี่ยตามขอบมุมอีกครั้ง
กว่าจะไล่ทาเกลี่ยทั้งหมดก็เล่นเอาปวดมือเหมือนกัน
วิธีเพนท์สีไม้เมื่อก่อนเวลาที่ผมเพนท์สีในส่วนที่เป็นไม้ตามอาคาร ก็จะใช้สีกันเซ่เบอร์ 42 น้ำตาลเข้ม ทา ลงไปทั้งหมดเลย แล้วค่อยเอาสีที่อ่อนกว่า มาดรายบรัชอีกที ก็จะได้สีของไม้แบบย้อมสีเข้มแต่สีที่ออกมาก็จะดูเป็นโทนเดียวกันไปทั้งหมด ไม่มีความแตกต่าง ในงานชิ้นนี้ก็เลยอยากลองทำในสิ่งที่ต่างออกไปบ้างครับ อยากจะได้โทนสีของไม้ที่มีหลายเฉดสี และมีน้ำหนักสีที่ดูแตกต่างกัน เข้มบ้างอ่อนบ้าง รวมถึงการไล่แสงเงาเพื่อให้เข้ากับสีของตัวตึกเลยทดลองเพนท์ด้วยสีอะครีลิคแบบหลอดดูครับ
วัสดุที่เหมาะกับการนำมาทำไม้ที่สุดก็คือ ไม้บัลซ่าครับ มีความหนาให้เลือกหลายขนาด มีผิวและลายของไม้อยู่แล้ว รวมถึงเวลาเอามาทำเป็นเศษซากที่หักออกมา รอยหักพังก็จะดูสมจริง แต่ข้อเสียก็คือ มีเสี้ยนหรือขุยเยอะครับ ต้องขัดให้ดีก่อน และถ้าโดนน้ำมากๆก็จะงอง่ายมากครับ วิธีที่ผมทำก่อนจะเอามาทำสีก็คือ พ่นหรือทารองพื้นด้วยสีทรายก่อนครับ พอแห้งแล้วก็ขัดเบาๆด้วยกระดาษทรายเบอร์ 400 เพื่อลบรอยเสี้ยนและขุยต่างๆออกไป ผิวจะเรียบขึ้นและทาเกลี่ยสีได้ง่ายขึ้นด้วยครับ
ส่วนสีที่ใช้เป็นสีอะครีลิคสูตรน้ำ ยี่ห้ออะไรก็ได้ครับ ผมเลือกใช้สีน้ำตาลเข้ม Burnt umber หรือจะใช้สีน้ำตาลโทนอื่นก็ได้ จะให้ผลที่ออกมาแตกต่างกัน รวมถึงการเลือกสีรองพื้นด้วยครับ เพราะเทคนิคที่ทำนี้มันจะเหมือนกับการย้อมสีครับ เป็นการทาเคลือบสีเข้มลงบนสีอ่อนบางๆ ทีละชั้น ยิ่ง
ทับหลายชั้นสีก็จะยิ่งเข้มขึ้น ดังนั้นถ้าเรารองพื้นไม้ชิ้นแรกด้วยสีเทา
ส่วนอีกชิ้นรองพื้นด้วยสีทรายแล้วใช้สีน้ำตาลเข้มมาทาเกลี่ยทั้ง2 ชิ้น ผลที่ออกมาก็จะได้โทนสีที่แตกต่างกันครับ
ลองมาดูตัวอย่างกันเลยครับ เริ่มจากเอาสีบีบลงในจานสี แล้วผสมน้ำนิดหน่อยครับ ส่วนไม้ก็รองพื้นด้วยสีทราย และขัดเรียบร้อยแล้ว
ลองมาดูตัวอย่างกันเลยครับ เริ่มจากเอาสีบีบลงในจานสี แล้วผสมน้ำนิดหน่อยครับ ส่วนไม้ก็รองพื้นด้วยสีทราย และขัดเรียบร้อยแล้ว
เทคนิคการย้อมสีแบบนี้จะเน้นที่การ
ใช้พู่กันและน้ำครับ ถ้าเราใช้พู่กันแห้งๆไปจุ่มสี แล้วทา สีก็จะเข้มและทึบ
แต่ถ้านำพู่กันไปจุ่มน้ำให้ชุ่มๆนิดนึงก่อน แล้วไปจุ่มสี เวลาทา น้ำในพู่กันก็จะผสมกับสีทำให้สีนั้นอ่อนและจางลงครับ อย่างในรูปคือ จุ่มน้ำก่อนแล้วจุ่มสี ทาเคลือบบางๆก่อน 1 รอบ
จะเห็นว่าสีทรายโดนย้อมด้วยสีน้ำตาลบางๆ
จากนั้นทาทับรอบที่ 2 สีจะเริ่มเข้มขึ้น ใช้พู่กันุจ่มน้ำและเช็ดพอหมาด นำไปจุ่มสีและทาจะเกลี่ยสีได้ง่าย และสีจะทึบและดู เข้มขึ้นครับ ถ้ารู้สึกว่าสีแห้งเกินไปและเกลี่ยยาก ก็จุ่มน้ำเปล่าแล้วมาเกลี่ยอีกที
การทาแบบไล่แสงเงานั้น เนื่องจากเราใช้สีที่เข้ม ดั้งนั้นเวลาทาก็จะเว้นส่วนที่เป็นแสงเอาไว้ครับ โดยทาเกลี่ยสีให้เข้มเพียงด้านเดียว และไล่ ให้สีอ่อนลงในด้านตรงข้าม ส่วนน้ำหนักอ่อนเข้มของสีนั้นก็ขึ้นอยู่กับการทาทับกันของสีครับ ยิ่งทาทับหลายรอบ สีก็ยิ่งเข้ม อย่างตัวอย่าง ในรูปแผ่นไม้ 2ชิ้นด้านล่าง ชิ้นที่สีอ่อนกว่าใช้พู่กันจุ่มน้ำเยอะๆ และทาให้สีจางๆแค่2รอบ ชิ้นด้านขวาที่เป็นโครงหลังคาก็ทาทับบางๆ เช่น เดียวกัน แต่ทาเกลี่ยให้สีบนแผ่นไม้แต่ละแผ่นดูอ่อนเข้มไม่เท่ากัน ส่วน ชิ้นด้านซ้ายเป็นส่วนของประตูสีเข้ม ใช้การทาเกลี่ยสีทับกันหลายรอบครับ
No comments:
Post a Comment